การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) และการบอกต่อแบบปากต่อปากบนสื่ออิเล็กทรอนิคส์ (e-WOM) ที่ส่งผลต่อคุณค่าตราสินค้า ของผู้บริโภค ที่สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ในเขตจังหวัดภาคเหนือ

Main Article Content

จุฑามณี คุณชาไพร
ลัสดา ยาวิละ
รัตนา สิทธิอ่วม

บทคัดย่อ

       งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภคที่สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ในเขตจังหวัดภาคเหนือ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) ศึกษาการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ที่ส่งผลต่อคุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภคที่สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ในเขตจังหวัดภาคเหนือและ 3) ศึกษาการบอกต่อแบบปากต่อปากแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-WOM) ที่ส่งผลต่อคุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภคที่สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ในเขตจังหวัดภาคเหนือ โดยไม่ทราบกลุ่มจำนวนประชากรจึงใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  และขั้นตอนที่ 2 ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) กลุ่มตัวอย่าง 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราวัดประมาณค่า 5 ระดับ ใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคที่สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ในเขตจังหวัดภาคเหนือที่มีปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุ รายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวกับคุณค่าตราสินค้า ของผู้บริโภคที่สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ในเขตจังหวัดภาคเหนือต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ส่งผลต่อคุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภคที่สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ในเขตจังหวัดภาคเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 0.40 การบอกต่อแบบปากต่อปากบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-WOM) ส่งผลต่อคุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภคที่สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ในเขตจังหวัดภาคเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 0.57

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Home Buyers Teams. อัปเดทสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัย ครึ่งปีแรก 2564 ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 และภาพรวมทั้งปี คาดปี 70 กลับมาปกติ. [อินเทอร์เน็ต]. 2021 [เข้าถึงเมื่อ 13 ตุลาคม 2564] เข้าถึงจากhttp://www.home.co.th/news/topic-55638.

ปิยะภัสร์ โรจน์รัตนวาณิชย์. วิธีการส่งเสริมการขายทีอยู่อาศัยของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสาระศาสตร์ 2561;3:435-447.

ฉวีวรรณ ชูสนุก และคณะ. อิทธิพลของการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการต่อคุณค่าตราสินค้า ความพึงพอใจ และความจงรักภักดีของลูกค้าในการเลือกซื้ออาคารชุด บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน). วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 2560;1:223-250

อมรรัตน์ ปัญจมาพร และธีระวัฒน์ จันทึก. การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยของความต้องการบ้านจัดสรรแบบประหยัดพลังงาน วารสารวิชาการ Veridian E-journal Silpakorn University 2559; 9(3): 1138-1153.

ดวงนภา ชื่นจิตต์ และศุภชาต เอี่ยมรัตนกูล. การใช้สื่อออนไลน์ในการตัดสินใจเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ในเขต กรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์ 2019;29:15-29.

มงคล อัศวดิลกฤทธิ์ และวรุณ เจตจำเริญชัย. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อกลยุทธ์การตลาดอสังหาริมทรัพย์มือสอง. Burapha Journal of Business Management 2563;1: 45-69.

ประชาชาติธุรกิจ. ธุรกิจอสังหาฯ ภาคเหนืออ่วมโควิด ครึ่งปีแรก 2564 สต๊อกเหลือขาย 5.8 หมื่นล้านบาท ปี’65 เทรนด์ทรงตัว [อินเทอร์เน็ต]. 2021 [เข้าถึงเมื่อ 14 ตุลาคม 2564] เข้าถึงจาก http://www.prachachat.net.

Kotler, P., & Armstrong, G. Principles of Marketing (10th ed.). New Jersey: Pearson-Prentice Hall. 2004. p.1-556

กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 23 ตุลาคม 2564] เข้าถึงจาก: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx.

พภัสสรณ์ แช่มศักดิ์สิทธิ์. การสื่อสารแบบปากต่อปากอิเล็กทรอนิกส์ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองผู้บริโภค และคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ คอนโดมิเนียมระดับกลางบริษัท พร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2563.

ตรีนุช แววแสง. (2555). ศึกษาการใช้ปัจจัยสวนประสมการตลาดในการตัดสนใจซื้อที่อยู่อาศัยของ ประชาชนวัยทำงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกริก; 2555.

นิเวศน์ ธรรมะ และลลิตา ชูบัวทอง. การศึกษาอิทธิพลของการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณา การและปัจจัยทางการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อทรัพย์สินรอการขายของธนาคารกรุงไทย สาขาพัทยากลาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2557; 6(12): 105-114.

บัณฑิต รัตนไตร และเยาวภา ปฐมศิริกุล. กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ เพื่อสร้างคุณค่าแบรนด์ มหาวิทยาลัยเอกชน. [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต] กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย; 2560.

อำไพ ทับทิมทอง. ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อคุณค่าตราสินค้า บริษัท โมเดอร์นเลดีเฮาส์ จำกัด [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต] จังหวัดปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2557.

วรนุช กุณฑลสุรกานต์. ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการกับความภักดีในตราสินค้า “uni-ball” ของ บริษัท อุดมพานิช คอร์เปอร์เรชั่น จํากัด [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต] กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร; 2551.

กนกวรรณ สันธิโร. การตลาดแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ และคุณค่าตราสินค้า ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ Apple Watch ของผู้ใช้ระบบ ios ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต] กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2558.