กลยุทธ์การบริหารการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน โดยส่งผ่านการมีส่วนร่วมของสมาชิก

Main Article Content

จตุพร ปานยิ้ม
กฤตชน วงศ์รัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์การบริหารการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมของสมาชิกและความสำเร็จของสหกรณ์ 2) กลยุทธ์การบริหารการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสหกรณ์ 3) กลยุทธ์การบริหารการดำเนินงานที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิก 4) การมีส่วนร่วมของสมาชิกที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสหกรณ์ และ 5) กลยุทธ์การบริหารการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนโดยส่งผ่านการมีส่วนร่วมของสมาชิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประธานกรรมการหรือผู้จัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน จำนวน 230 คน เลือกวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่ายและแบบพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การบริหารการดำเนินงาน  การมีส่วนร่วมของสมาชิกและความสำเร็จของสหกรณ์โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) กลยุทธ์การบริหารการดำเนินงานส่งผลทางบวกต่อความสำเร็จของสหกรณ์  3) กลยุทธ์การบริหารการดำเนินงานส่งผลทางบวกต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิก 4) การมีส่วนร่วมของสมาชิกส่งผลทางบวกต่อความสำเร็จของสหกรณ์ และ 5) กลยุทธ์การบริหารการดำเนินงานส่งผลทางบวกต่อความสำเร็จของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนโดยมีการมีส่วนร่วมของสมาชิกเป็นตัวแปรส่งผ่านบางส่วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สามารถพยากรณ์ความสำเร็จของสหกรณ์ได้ร้อยละ 63.4 (Adj. R2=6.33)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: 2560 [เข้าถึงเมื่อ 21 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.prachinburi.go.th/

plan12.pdf.

ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด. ประวัติเครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: 2564 [เข้าถึงเมื่อ 11 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: www.cultthai.coop/cultthai/index.php/2017-05-24-02-43-05/cu-history1-2.

สมคิด บางโม. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2562.

ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย. สถิติสหกรณ์/กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนทั่วประเทศ. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: 2564

[เข้าถึงเมื่อ 12 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.cultthai.coop/cultthai/index.php/stat-cu.

Yamane, T. Statistics : an Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row; 1973.

อารยา องค์เอี่ยม และพงศ์ธารา วิจิตรเวชไพศาล. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องวิจัย. วิสัญญีสาร 2561; 4:36-42.

Cronbach, L. J. Essentials of Psychological Test. 5th ed. New York: Harper Collins; 1970.

ยุทธ ไกยวรรณ์. หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

Baron, R. M. & Kenny, D. A. The moderator-mediator variable distinction in social psychological research: Conceptual, strategic and statistical considerations. Journal of Personality and Social Psychology 1986; 51:1173-1182.

โพธิ์ตะวัน ทีโยตระกูล, ปานฉัตร อาการักษ์และจิรภา ศักดิ์กิตติมาลัย. การวิเคราะห์สุขภาพด้านการเงินของสหกรณ์การเกษตรอำเภอในจังหวัดเชียงรายโดยใช้ตัวชี้วัดทางการเงิน. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ 2561; 11:53-62.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์และพนารัตน์ ปานมณี. การบัญชีบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยลัยเกษมบัณฑิต; 2561.

นิศารัตน์ สังข์เสือ และพลดา เดชพลมาตย์. การบริหารจัดการวิสหกิจชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวศรีนคร อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย. การประชุมวิชาการระดับชาตินเรศวรวิจัยครั้งที่ 13 วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม; 20-21 กรกฎาคม 2560; มหาวิทยาลัยนเรศวร. จังหวัดพิษณุโลก; 2560. 868-877.

สุกัญญา สุทธิชาติ. แนวทางพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการประชุมคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ 2558; 7:63-71.

Boyarsky, K. What is office management? Here’s everything you need to know. [Internet]. 2020 [cited 2022 February 20]. Available from:https://resources.owllabs.com/blog/office-management

Mondy, R. W., & Mondy, J. B. Human Resource Management. 13rd ed. Boston: Prentice Hal; 2014.

Banton, C. Management Audit. [Internet]. 2021 [cited 2022 February 20]. Available from:https://www.

investopedia.com/terms/m/management-audit.asp

ทวีชัย คำทวี, พุฒิสรรค์ เครือคำและพหล ศักดิ์คะทัศน์. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานสหกรณ์การเกษตรประตูป่า จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 2562; 36:114-124.

ชลิตา สุปินชมภู. บรรษัทภิบาลของสหกรณ์การเกษตรที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตร จังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2557.

ภูไท แสงจันทร์, ดารินทร์ โพธิ์ตั้งธรรมและวิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด(ในพระบรมราชูปถัมภ์). วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน 2560; 3:87-100.

จักรพันธ์ กิตตินรรัตน์ และจุฑาทิพย์ พหลภาคย์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่ภาคกลาง. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ 2557; 1:4-17.

ทัศนีย์ สมธิ, รณิดา ปิงเมือง, วรรณะ รัตนพงษ์และนาวิน พรมใจสา. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้สมาชิกสตรีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ 2560; 10:156-168.

อัศวเทพ ศุภเจริญกูลและมาลี สบายยิ่ง. การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการดำเนินการของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคอหงส์ จำกัด อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ 2561; 8:191-202.

นิภาภรณ์ จงวุฒิเวศย์, รังสรรค์ สิงหเลิศและสมสงวน ปัสสาโก. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2553; 4:103-111.

วีระโชติ ชุณหรุ่งโรจน์, ยุวัฒน์ วุฒิเมธีและรังสรรค์ ปิติปัญญา. การบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ 2561; 11:302-306.