การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการมีส่วนร่วมในห้องเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Main Article Content

วิชาญ แฟงเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม รายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการพัฒนาด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มกับเกณฑ์พัฒนาร้อยละ 80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่ม
4) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในห้องเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม รายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายของงานวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที


            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


1) ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม พบว่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม มีค่าดัชนีประสิทธิภาพ E1/E2 มีค่าดัชนี เท่ากับ 75.33/82.50  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 70/70 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.67


            2) ผลเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม เมื่อเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่กำหนดไว้ พบว่าภาพรวมของคะแนนหลังเรียนกับเกณฑ์สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


            3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


            4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มมีส่วนร่วมในห้องเรียนโดยรวมในระดับดี

Article Details

How to Cite
แฟงเมือง ว. (2023). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการมีส่วนร่วมในห้องเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(1), 136–143. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/260968
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. แผนการศึกษาแห่งชาติ. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์ พัฒนาการเรียนการสอน; 2540 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://library.christian.ac.th/opac/showsearch_bk.php?pointer=T010188

สุกัญญา จันทร์แดง. ผลการจัดการเรียนด้วยชุดการสอนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและความสามารถ ในการทำงานร่วมกัน วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 2556; 6:567-581.

สำนักงานสภาเลขาธิการการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติ. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จากhttp://www.onec.go.th/index.php/book/BookGroup/11.

คนิษา ลำภาศาล และคณะ. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่อง การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชและสัตว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้น GI. วารสาร

ครุศาสตร์อุตสาหกรรม 2561; 17:93-100.

อัจฉรรา ไชยโช. ผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจต่อการเรียนของนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ 2555; 3:151-161.

มณทิพย์ เจริญรอด. ผลของการใช้กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานร่วมกันในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช;2542.