การวิเคราะห์ผลความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณลักษณะบัณฑิต ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและอัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2564

Main Article Content

ฐิติรัตน์ ชะเอม

บทคัดย่อ

งานวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ผลความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณลักษณะบัณฑิต เปรียบเทียบประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2564 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณลักษณะบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) เปรียบเทียบประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2564 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่ออัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (ซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้) เปรียบเทียบประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2564 การวิเคราะห์ในครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปีการศึกษา 2561 – 2565 โดยกำหนดให้จำนวนบัณฑิตที่ได้รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ซึ่งในงานวิเคราะห์ครั้งนี้มีประชากรทั้งหมด 3,573 คน ใช้กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งหมด 2,162 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


จากผลการวิเคราะห์จึงเสนอแนวทางพัฒนาการ ดังนี้ 1) คณะและสาขาวิชาสามารถนำข้อมูลการติดตามผลบัณฑิตไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนการสอน ใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษารวมถึงสอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังสามารถทำให้มีแนวทางการพัฒนาบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากยิ่งขึ้น 2) มหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญในการกระตุ้นให้สาขาวิชาพัฒนาหลักสูตรที่เน้นให้นักศึกษาได้ปฏิบัติและนำไปใช้งานจริง เพิ่มรายวิชาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะด้านภาษาต่างประเทศให้กับบัณฑิตทุกสาขา เพิ่มทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในทุกสาขาวิชา เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้มีความชำนาญเฉพาะสาขาวิชา 3) มหาวิทยาลัยควรเพิ่มกิจกรรมการให้คำแนะนำในการหางานทำ การฝึกอบรมทักษะที่จำเป็นเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ได้งานทำ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ รวมถึงการให้คำปรึกษาแก่บัณฑิตที่มีปัญหาในการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. รายงานการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2561 (ปีงบประมาณ 2562). [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://plan.pbru.ac.th/ejournal/Survey2019_2.pdf

กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. รายงานการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2562 (ปีงบประมาณ 2563). [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://plan.pbru.ac.th/ejournal/J_file20201112101014.pdf

กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. รายงานการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2563 (ปีงบประมาณ 2564). [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://plan.pbru.ac.th/ejournal/J_file20211109164824.pdf

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2561. เชียงใหม่; 2561.

มานพ พราหมณโชติ. ผลผลิตของมหาวิทยาลัยรามคำแหงและคุณภาพการทำงานของบัณฑิต. กรุงเทพฯ; 2547.

สุรพงษ์ โพธิ์ขาว. ความต้องการกิจกรรมในการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการทำงานและ การใช้ชีวิต (soft skills) สำหรับนักศึกษาปริญญาโทภาคปกติ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานกิจการนักศึกษา กองงานผู้บริหาร สำนักงานอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2560.

นรา สมประสงค์ และคณะ. การบริหารสภาพแวดล้อมสถานศึกษา. เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาการจัดการสถานศึกษาหน่วยที่ 8 ถึง 10. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2546