การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะ ในการสร้างนวัตกรรม รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

จิตรลัดดา มะลัยทอง
รสริน เจิมไธสง
พรภิรมย์ หลงทรัพย์

บทคัดย่อ

       


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรม รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 2) เปรียบเทียบสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรม รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับการคิดเชิงออกแบบและการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสาธิตนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 1 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 69 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับการคิดเชิงออกแบบ 3) แบบประเมินสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที


ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะในการสร้างนวัตกรรม รายวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก
2) สมรรถนะในการสร้างนวัตกรรม รายวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนแบบสะเต็มร่วมกับการคิดเชิงออกแบบหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 

Article Details

How to Cite
มะลัยทอง จ., เจิมไธสง ร. ., & หลงทรัพย์ พ. . (2023). การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะ ในการสร้างนวัตกรรม รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(1), 72–80. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/260361
บท
บทความวิจัย

References

สำนักเลขาธิการขององค์การยูเนสโกและหน่วยกำกับดูแล. กำเนิดยูเนสโก: วิสัยทัศน์เพื่อโลกใบใหม่ที่ก่อร่างจากกองธุลี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ยูเนสโกประเทศไทย; 2561.

ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ และวรางคณา ทองนพคุณ. ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในอนาคต 21st Century Skills: The Challenges Ahead. [อินเทอร์เน็ต]. ภูเก็ต : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. ; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 17 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://issuu.com/phubatelouimsai/docs/21.

วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพ ฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล; 2555

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กรอบสมรรถนะหลักผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพ ฯ: กระทรวงศึกษาธิการ; 2562.

มนตรี จุฬาวัฒนทล. สะเต็มศึกษาประเทศไทยและทูตสะเต็ม (STEM Education Thailand and STEM Ambassadors). สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) 2556; 185:1-5

สุคนธ์ทิพย์ มงคลเจริญ. อิทธิพลของรูปแบบความคิดสร้างสรรค์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมของพนักงานในงานธุรกิจสื่อไดเร็คทอรี่แห่งหนึ่ง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2555

ชลาธิป สมาหิโต. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในระดับการศึกษาปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 2557; 30(2): 102-111.

ภัทรา อุ่นทินกร และมาเรียม นิลพันธ์. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. นครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2564

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC). DESIGN THINKING: LEARNING BY DOING การคิดเชิงออกแบบ: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ; 2560

พิพัฒน์พงศ์ จิตต์เทพ มนัสนันท์ น้ำสมบูรณ์ เพ็ญพนอ พ่วงแพ และ วิสูตร โพธิ์เงิน. การพัฒนาความสามารถการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมในสาระภูมิศาสตร์ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Journal of Roi Kaensarn Academi 2564; 10: 78-93

ธีราภรณ์ พลายเล็ก. การศึกษาสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ทางด้านการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษาครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานและการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน Journal of Roi Kaensarn Academi 2564 ;6:197-209

ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. คู่มือเครือข่ายสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงศึกษาธิการ; 2558.

เมษ์ ศรีพัฒนาสกุล. Design Thinking ไม่ใช่เครื่องมือวิเศษ”– เข้าใจแก่น Design Thinking. [อินเทอร์เน็ต]; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 17 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.the101.world/design-thinking/

พิชญา กล้าหาญ. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. นครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2563