การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

Main Article Content

สรัล สุวรรณ
อุบลวรรณ ส่งเสริม

บทคัดย่อ

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐาน และ
2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐาน 2) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐาน
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.73 , S.D. = 0.57) 2) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.38, S.D. = 0.70)

Article Details

How to Cite
สุวรรณ ส., & ส่งเสริม อ. . (2023). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(1), 91–100. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/259991
บท
บทความวิจัย

References

วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์; 2555.

The Partnership for 21st Century Skill. Framework for 21st Century Learning. [Internet]. 2009 [cited 2021 September 9]. Available from: http://21st Century skill. Org/index.php

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวพ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2557.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้แบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.; 2550.

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว; 2551.

วัชรา เล่าเรียนดี. ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ชการพัฒนาวิชาชีพ : ทฤษฎี กลยุทธ์สู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2556.

Edward de Bono. De Bono's thinking course. London : BBC Worldwide; 2004.

สุวิมล สพฤกษ์ศรี. ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพโดยผสมผสานเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษา [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2561.

Lloyd C. Artful Inquiry: an arts-based facilitation approach for individual and organizational learning and development [dissertation]. Creative Industries Faculty, Queensland University of Technology; 2011.

มาเรียม นิลพันธุ์. วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2564.

Adler, N. J. The arts & leadership: Now that we can do anything, what will we do?. Academy of Management Learning & Education 2006; 5(4):486-499.

อติยศ สรรคบุรานุรักษ์. การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ศิลปะเป็นฐานเพื่อส่งเสริมงานสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2559.

Stanford Teaching Commons. Course Design Overview. [Internet]. 2015 [cited 2021 September 9]. Available from: https://teachingcommons.stanford.edu

นนทลี พรธาดาวิทย์. การจัดการเรียนรู้แบบ Active learning. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น; 2559.