ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ดนตรีคลาสสิกเป็นสื่อเพื่อเสริมสร้างความฉลาด ทางอารมณ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศิริเพ็ญ กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ ของนักเรียนกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่ใช้ดนตรีคลาสสิกเป็นสื่อเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ (2) เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ ชุดกิจกรรมแนะแนวที่ใช้ดนตรีคลาสสิกเป็นสื่อเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์และกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ
(3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่ใช้ดนตรีคลาสสิกเป็นสื่อเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนศิริเพ็ญ กรุงเทพมหานคร จำนวน 20 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
(1) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ (2) ชุดกิจกรรมแนะแนวที่ใช้ดนตรีคลาสสิกเป็นสื่อ และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการทดสอบลําดับที่โดยเครื่องหมายของวิลค็อกซัน (Wilcoxon-signed rank test) สถิติทดสอบแมน - วิทนีย์ ยู (The Mann - Whitney U Test)
ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) กลุ่มทดลองหลังใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่ใช้ดนตรีคลาสสิกเป็นสื่อเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์
มีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่ใช้ดนตรีคลาสสิกเป็นสื่อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนกลุ่มทดลองหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่ใช้ดนตรีคลาสสิกเป็นสื่อมีความฉลาดทางอารมณ์ สูงกว่ากลุ่มควบคุมหลังใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว ปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมแนะแนวที่ใช้ดนตรีคลาสสิกเป็นสื่อเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
Salovery, P., & Mayer, J. D. Emotional intelligence. Imagination Cognition and Personality 1990; 9:185-221.
กรมสุขภาพจิต. รายงานวิจัยการพัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณสำหรับประชาชนไทยอายุ 12 - 60 ปี. กรุงเทพฯ:
สํานักพัฒนาสขภาพจิต กรมสุขภาพจิต; 2544.
กรมสุขภาพจิต. แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิต ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550-2554). กรุงเทพฯ: บริษัทละม่อมจํากัด; 2552; 44.
จเร สำอางค์. สมองดี ดนตรีทำได้. พิมพ์ครั้งที่ 1กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน); 2550.
ณรุทธ์ สุทธจตติ์. จิตวิทยาการสอนดนตรี. การศึกษาและการสอน .พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2541.
ทวีป อภิสิทธิ์. การปลูกฝังความดีโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อ. วารสารประชาศึกษา (กุมภาพันธ์) 2521; 7: 24-27.
ปารียา แก้วธรรม. ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการ ที่มีต่อการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านบักดอง จังหวัดศรีสะเกษ . [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช;2550.
สุรีย์ ดาวอุดม. การพัฒนากิจกรรมดนตรีบำบัดแบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี; 2552.
อุสา สุทธิสาคร. ดนตรีพัฒนาปัญญา (IQ) อารมณ์ (EQ). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี รักลูกแฟมิลี่กรุ๊ป; 2544.
อัมพวัน ศรีหรั่งไพโรจน์. ผลการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนวัดเกษตราราม จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2550.
อัษฎา พลอยโสภณ. การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่น ในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ;2558.