แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหาร ส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

พระอุทัย จารุธมฺโม (แก่นจำปา)
สาโรช เผือกบัวขาว
พนิต ศรีประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 กับการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4
ในองค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย จำนวน 69 คน โดยการสุ่มแบบง่าย และ
การวิจัยเชิงคุณภาพ คือ พระสงฆ์ ผู้บริหารท้องถิ่น และผู้บริหารระดับสูงหรือนักวิชาการ จำนวน 9 ท่าน โดยการสุ่มแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท


ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหาร โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̅= 3.93)
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านวิมังสา (x̅= 4.03) ด้านจิตตะ (x̅= 3.96) ด้านวิริยะ
(x̅= 3.90) และด้านฉันทะ (x̅= 3.83) ตามลำดับ 2) การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̅= 3.97)
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านสมรรถนะในการบริหารตนเอง (x̅= 4.10) ด้านสมรรถนะในการตระหนักรับรู้เรื่องโลกาภิวัตน์  (x̅= 4.01) ด้านสมรรถนะในการสื่อสาร (x̅= 4.00) ด้านสมรรถนะในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ (x̅= 3.95)
ด้านสมรรถนะในการทำงานเป็นทีม (x̅= 3.94) ด้านสมรรถนะในการวางแผนและการบริหารจัดการ (x̅= 3.82) ตามลำดับ 3) การบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร โดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.219) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชยคือ
4.1) ด้านฉันทะ (การวางแผน) ผู้บังคับบัญชาควรเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมที่จะพัฒนางานและนโยบายขององค์กรด้วยความเต็มใจ และพัฒนาบุคลากรด้วยการจัดฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกองค์กรอยู่เสมอ 4.2) ด้านวิริยะ (การปฏิบัติตามแผน) บุคลากรควรพยายามฝึกฝน พัฒนาตนเองให้เกิดความชำนาญในหน้าที่ด้วยการเรียนรู้เพิ่มเติม  ค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับงานที่ตนเองปฏิบัติอย่างเต็มศักยภาพและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 4.3) ด้านจิตตะ (การตรวจสอบ) องค์กรควรส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ด้านจิตตะ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และ 4.4) ด้านวิมังสา (ปรับปรุงแก้ไข) ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้วยการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างเหมาะสม และมีการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีการพัฒนาที่ดีขึ้น

Article Details

How to Cite
จารุธมฺโม (แก่นจำปา) พ. ., เผือกบัวขาว ส., & ศรีประดิษฐ์ พ. (2023). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหาร ส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(1), 42–51. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/259626
บท
บทความวิจัย

References

องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ตุลาคม 2]. เข้าถึงได้จาก: https://plubplachai.go.th/public/list/data/datacategory/catid/4/menu/1196.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. กฎหมายการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา; 2557.

ณัฐวัฒน์ สิริพรวุฒิ. การจัดการภาครัฐแนวใหม่ในการบริหารองค์การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์; 2556.

อัญชลี กองแก้ว. การพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลบางละมุง จังหวัดชลบุรี [สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2561.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส.อาร์พริ้นติ้งแมส โปรดักส์ จำกัด; 2548.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2539.

Don Hellriegel, Susan E. Jackson, and John W. Slocum, Jr.. Management : A Com petency-Based Approach. 10th ed. Singapore: Thomson South-Western; 2005.

Yamane, T. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York. Harper and Row Publications; 1973.

สิน พันธุ์พินิจ. เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : บริษัทจูนพับลิชซิ่ง จำกัด; 2547.

พรรณราย เทียมทัน. การศึกษาการพัฒนาสมรรถนะในการบริหารองค์กรด้วยระบบการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี [รายงานการวิจัย]. เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์; 2550.

เยาวลักษณ์ สุตะโคตร. การพัฒนาภาวะผู้นำของพนักงานเทศบาล : กรณีสำนักงานเทศบาลเมืองมุกดาหาร. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต]. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร; 2553.