การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานเพื่อส่งเสริม ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครูปฐมวัย

Main Article Content

ชนาธิป บุบผามาศ
อุบลวรรณ ส่งเสริม

บทคัดย่อ

 


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครูปฐมวัยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาครูปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
2) แบบประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาครูปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครูปฐมวัยหลังเรียน (𝑥̅ = 17.93, S.D. = 3.49) สูงกว่าก่อนเรียน (𝑥̅ = 10.66, S.D. = 3.37) 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาครูปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.84 , S.D. = 0.37)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร. “นพ.อุดม คชินทร” รมช.ศึกษา มอง “มหาวิทยาลัย” ศตวรรษที่ 21 ต้องปรับตัวเป็น demand side. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 17 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://thaipublica.org/2018/09/ udom-thammasat-gen-next-education/

Hammond. cooperative Learning. John Hopkins University; 1967.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. การจัดกระบวนการเรียนรู้ : เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์; 2552.

กรรณิการ์ กวางคีรี. การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และความเข้าใจที่คงทนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2554.

สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง; 2554.

สิทธิพล อาจอินทร์. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ. กลยุทธ์การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์: แผนที่มโนทัศน์. วารสารครุศาสตร์ 2557; 167: 194 – 211.

โสภิดา มะลิซ้อน. การพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์โดยใช้แนวคิดของมาร์ซาโน (Marzano) วิชาประวัติศาสตร์ไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2562.

Thomas & Field. Managing Project Based Learning: Principles from the Field. The Buck Institute for Education; 1977.

เยาวเรศ ภักดีจิตร. Active Learning กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ วันส่งเสริมวิชาการสู่คุณภาพการเรียนการสอน; 30 กรกฎาคม 2557; หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. จังหวัดนครสวรรค์: 2557. 1 – 8.

Horsburgh, D. Activity-based learning in India. [Internet]. 1944 [cited 2021 August 17]. Avaliable from: https://thestandard.co/

-phenomenon-in-thailand-society-in-15-years/

นิลุบล วรวิชญ์ธนเลิศ. การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity – Base Learning). [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 17 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://dputhp.wordpress.com/2013/

Limbu, P. Why do we need to use activity based learning method? [Internet]. 2012 [cited 2021 August 17]. Avaliable from: http://eprogressiveportfolio.blogspot.com/2012/06/activity-based-teachingmethod.html

Ceilk. The Effects of Activity Based Learning on Sixth Grade Students’ Achievement and Attitudes towards Mathematics Activities. Eurasia Journal of Mathematics, Science and Technology Education 2018; 40: 1963 – 1977.

ปรัชฌภรณ์ ทวีสุข. การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2561.

มาเรียม นิลพันธุ์. วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.

Mcgrath, J. R., and MacEwan, G. Linking pedagogical practices of activity based teaching. The International Journal of Interdisciplinary Social Sciences 2011; 6: 261-274.

Okwudishu, A. U. Trainer guide to the use of manual of the best practices and methods of facilitating in basic literacy programme. Nigeria: A lead paper presented during a work shop on developing Manual of Best Practices at Enugu; 2011.

วัชรา เล่าเรียนดี. รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 9. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์; 2555.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. การออกแบบพัฒนาโปรแกรมบทเรียนและบทเรียนบนเว็บ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553.

สุพีรา ดาวเรือง. การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้การเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานและเทคนิคเพื่อนคู่คิดบน

วิกิเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

ศศิธร ลิจันทร์พร. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานโดยใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมความมีวินัยของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

Scott, P. The process of conceptual change in science. Cornell University; 1970.