สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม จำแนกตามวุฒิการศึกษา ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรง อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ
ผลการวิจัยพบว่า
ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีการรับรู้ต่อสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ และขนาดใหญ่ มีการรับรู้มากกว่าครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็ก-ขนาดกลาง และครูที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป มีการรับรู้ด้านการบริการที่ดีมากกว่าครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่ำกว่า 5 ปี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ.2564-2565. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 9 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.yst2.go.th/web/wpcontent/uploads/2021/01/
%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%
B8%90.%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2564-2565.pdf
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสงคราม. แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม (พ.ศ.2562-2565). สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ; 2562.
Cohen L., Manion L., and Morrison K. Research methods in education 7th ed. New York: Routledge; 2011
บุญชอบ พรรณนิกร. สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณในพระบรมราชูปถัมภ์; 2558.
สุจิตรา บุตรดี. การศึกษาระดับคุณภาพสมรรถะหลักและสมรรถนะประจำสายงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามทรรศนะของครู อำเภอเวียงป่าเป้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2560.
กนกอร จุลินทร. สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเขาคิชฌกูฏ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.
นิพนธ์ วานิชยากร. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนในกลุ่มเมืองฉะเชิงเทรา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.
ภัคจิรา ผาทอง. สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2. [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2563.
ปาริฉัตร ช่อชิต. สมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2559.
สมปอง ไทยธานี. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.
ฉวีวรรณ ฉัตรวิไล. สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินการตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์; 2560.
กัญญ์ณพัชร์ เพิ่มพูล, ประภาศ ปานเจี้ย และยรรยง คชรัตน์. สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยภาคใต้. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2561.
อาราฟัด หัดหนิ. สมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. [สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2562.
วิมลรัตน์ ศรีสำอางค์ และ รชฎ สุวรรณกูฎ. สมรรถนะหลักทางการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 2558; 5:80-89.
อัญชลี ชัยศร. การบริหารทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานสมรรถนะ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์ 2563; 5:234-248.
ธนพล ใจดี และ กัลยมน อินทุสุด. สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน ขนาดใหญ่พิเศษ กลุ่ม 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academic 2564; 6:68-79.