แนวทางการบริหารสถานศึกษาที่มีต่อการลดภาระงาน ตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแนวทางการบริหารสถานศึกษาที่มีต่อการลดภาระงานตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม จำแนกตามคุณวุฒิการศึกษา ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์ทำงาน ประชากรในการวิจัย คือ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 421 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแนวทางการบริหารสถานศึกษาที่มีต่อการลดภาระงานมีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.5 – 1.00 และ
มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA : F-test) และ การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ (Scheffe’s method)
ผลการวิจัยพบว่า
ข้อ 1. แนวทางการบริหารสถานศึกษาที่มีต่อการลดภาระงานตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม
อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน
ข้อ 2. ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีคุณวุฒิการศึกษาต่างกันมีการรับรู้ต่อแนวทางการบริหารสถานศึกษาที่มีต่อการลดภาระงานโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กและขนาดกลาง มีการรับรู้มากกว่าครูโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษ ยกเว้นด้านงานนโยบายและแผนไม่แตกต่างกัน ส่วนครูโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสบการณ์ทำงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป มีการรับรู้ด้านบูรณาการมากกว่าครูที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 5 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
ชนิตา รักษ์พลเมือง. การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2560; 3:17-33.
จุไรรัตน์ สุดรุ่ง และผัสสพรรณ ถนอมพงษ์ชาติ. คิดนอกกรอบการพัฒนาครู:แก้ปัญหาให้ตรงจุด. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2561; 2:387-393.
กระทรวงศึกษาธิการ. เสียงสะท้อนจาก “ครู” ลดภาระงาน-แก้ครูขาด-ดูแลขวัญกำลังใจ . [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://mgronline.com/qol/detail/9620000004738
ประวิต เอราวรรณ์. ศธ.เอาจริง! ลดเอกสารวิทยฐานะ-คืนครูให้ห้องเรียน ดีเดย์ 1 ต.ค.65. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 8 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://news.thaipbs.or.th
Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. Research methods in education (7th Ed.). New York: Routledge; 2011.
พรทิพย์ ทับทิมทอง. การวิเคราะห์ผลของการใช้เวลาในการปฏิบัติภาระงานสอนที่มีต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2560; 2:353-39.
พิกุล เอกวรางกูร. แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการสอนของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2561; 3:366-379.
กระทรวงศึกษาธิการ. ประกาศหนังสือทางราชการเรื่องแนวทางปฏิบัติในการลดภาระงานครูและนักเรียน. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://203.159.154.241/innogoth/wp.pdf
รัตน์สินี รื่นนุสาน.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2561; 4:374-387.
มณีรัตน์ ปรางค์ทอง. ระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูในโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2562; 1: 1-12.
รัฐวัลย์ เหมือนมาตร. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูโรงเรียนขนาดเล็กในยุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารปัญญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2563; 2:72-86.
ปฏิภาณ กิตตินันทวัฒน์. การประยุกต์ใช้นวัตกรรมคิวอาร์โค้ดเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน. วารสารร่มพฤกษ์มหาวิทยาลัยเกริก 2563; 3:91-102.
สุรัตน์ ศรีดาเดช. กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. สำนักวิชาการสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 2559; 2:161-175.
ณัฐพล พันธุ์ภิญญา. กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2564; 2: 220-231.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสงคราม. แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม (พ.ศ.2562-2565). สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ; 2562.
สุพัตรา วัฒนสงค์. ประสิทธิภาพการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10; 12 กรกฎาคม 2562; มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. จังหวัดสงขลา: 2562. 249-262.
ระบิล หล้าภิล. แผนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านโป่งแดง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน. วารสาร มมร. วิชาการล้านนา 2561; 2:56-65.
พสกร ทวีทรัพย์. การศึกษาปัจจัยความสำเร็จของการบูรณาการการจัดการศึกษาในจังหวัดเพชรบูรณ์. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ; 2561.
ทัศนีย์ ชาติไทย. คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2559.