ส่วนประสมทางการตลาดบริการ การยอมรับเทคโนโลยีและความพึงพอใจที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง

Main Article Content

กฤตนัย อินนันชัย
ธนกร สิริสุคันธา

บทคัดย่อ

   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของส่วนประสมทางการตลาดบริการ การยอมรับเทคโนโลยี ความพึงพอใจ และการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง และ 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการ การยอมรับเทคโนโลยีและความพึงพอใจที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ที่เคยซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ในจังหวัดลำปาง จำนวน 385 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบบอกต่อ (Snowball Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามออนไลน์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานได้แก่ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ Enter


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นด้านด้านการยอมรับเทคโนโลยีอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการ ด้านการตัดสินใจและด้านความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 2) ผลการทดสอบการถดถอยพหุคูณ แบบ Enter พบว่า ด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการ ด้านการยอมรับเทคโนโลยี และด้านความพึงพอใจ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


           

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

อรอนงค์ ทองกระจ่าง. การศึกษาส่วนประสมทางการตลาด การยอมรับเทคโนโลยี และการสื่อสารแบบบอกต่อที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชั่น Shopee [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2560.

กรุงเทพธุรกิจ. TMB โควิด-19 ดันยอดสั่งอาหาร-อุปกรณ์ทำครัว ผ่านออนไลน์ มี.ค.พุ่ง. [อินเทอร์เน็ต]. 2563[เข้าถึงเมื่อ 13 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/880361

การเคหะแห่งชาติ. ข้อมูลประชากร 2563. [อินเทอร์เน็ต]. กองยุทธศาสตร์และสารสนเทศที่อยู่อาศัย ฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัย; 2564[เข้าถึงเมื่อ 13 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://housingkc.nha.co.th/files/article/attachments/ ffaef8523776e58763edecf0906c208e.pdf

สำนักงานสถิติจังหวัดลำปาง. การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน. [อินเทอร์เน็ต]. 2564[เข้าถึงเมื่อ 13 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http//lampang.nso.go.th/index.phpoption=com_conten&virw=article&id=353:-2561&catid=105&Itemid=657

กระทรวงพาณิชย์. พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค. [อินเทอร์เน็ต]. สำนักงานนโยบายและยุทธศานตร์การค้า;2564[เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.price.moc.go.th/price/fileuploader/file_admin_sum/news_survey-042564.pdf

กัลยา วาณิชย์บัญชา. สถิตสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.

Likert. New Partterns of Management. New York: McGraw-Hill; 1970.

Nunnally. Education measurement and evaluation. New York: McGraw-Hill; 1978.

Brennan RL. A Generalized Upper-Lower Discrimination Index. Education and Psychological Measurement; 1972.

Lee F, John C, and Alice C. Statistics for business and Financial Education. 2nd ed. Singapore: World Scientific; 2000.

สุคนธจรินทร์ ไกรศรวัชร. หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : บริษัทศูนย์หนังสือ เมืองไทย จำกัด; 2555.

ศรุตม์ โกมลเปลิน. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทของฝากจากต่างจังหวัด

ของผู้บริโภคในเขตภาษีเจริญ. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยสยาม; 2561.

ณัฏฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล. การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร[การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2558.

อดุลย์ จาตุรงคกุล และคณะ. การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ : เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า; 2546.

สิทธิชัย บุษหมั่น และคณะ. การศึกษาความพึงพอใจต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางบนสื่อออนไลน์. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 2563;5(1):104-112.

อรุโณทัย ปัญญา. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่าน สังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่[การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2562.