การพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติด้วยการจัดการเรียนรู้ในการฟัง และอ่านสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

วิชชุดา ขำประถม
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติด้วยการจัดการเรียนรู้ในการฟังและอ่านสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ทดลองใช้หลักสูตร และ 3) ประเมินประสิทธิผลการใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย คือ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการฟังและอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ ก่อนและหลังใช้หลักสูตร 3.2) เพื่อศึกษาเทคนิคการฟังและอ่านที่นักเรียนใช้ 3.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติด้วยการจัดการเรียนรู้ในการฟังและอ่าน จำนวน 40 ชั่วโมง แบบทดสอบความสามารถในการฟังและอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ แบบสอบถามการใช้เทคนิคการฟังและอ่านสำหรับทำแบบทดสอบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ได้แก่ 1) ค่าเฉลี่ย 2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3) การทดสอบค่า t-test แบบ Dependent แบบแผนการวิจัย คือ แบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนหลัง (The One-Group Pretest-Posttest Design) ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฯ ประกอบด้วย 12 องค์ประกอบ 7 หน่วยการเรียนรู้ และมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{x}=4.60, S.D. =0.51) 2) ความสามารถในการฟังและอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติของนักเรียน หลังใช้หลักสูตรแตกต่างกับก่อนใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3)การนำเทคนิคการฟังและการอ่านไปใช้ในการทำแบบทดสอบความสามารถในการฟังและอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติของนักเรียนอยู่ในระดับมาก โดยคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.35 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรฯอยู่ในระดับมากที่สุด โดยคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.59


                     


 

Article Details

How to Cite
ขำประถม ว., & สิทธิ์สูงเนิน ช. (2023). การพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติด้วยการจัดการเรียนรู้ในการฟัง และอ่านสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(3), 104–116. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/258429
บท
บทความวิจัย

References

อรรชนิดา หวานคง. การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ PICTURE WORD INDUCTIVE MODEL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2563.

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551: สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย; 2551.

นพเก้า ณ พัทลุง. การจัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่1. สงขลา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิน; 2551.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฏีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร: วีพรินท์; 2556.

มาเรียม นิลพันธุ์. วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่1. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2555.

Taba, H. Curriculum Development. Theory and Practice. 1st ed. New York: Harcourt Brace&World; 1962.

Good, Carter V. Dictionary of education / prepared under the auspices of Phi Delta Kappa. 1st ed. New York: McMillan; 1973.

Beauchamp, George A. Curriculum Theory, 3rd ed. Illinois: The Kagg Press; 1981.

สงัด อุทรานันท์. พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร.พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร: มิตรสยาม; 2532.

ธีรศักดิ์ แสนท้วม. การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่องระบำชักพระสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร[วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. การพัฒนาหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่1. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2564.

พลวัต วุฒิจักร. การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาจิตปัญญาศึกษา สำหรับนักศึกษาครู เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตครูที่พึงประสงค์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2553.

ธันยพร บุษปฤกษ์. การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลสำหรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต).นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2554.

ทัศนีย์ ธนาพร. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการโรงแรมโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2554.

กฤษณ์ วิทวัสสำราญกุล. การเพิ่มคะแนนการทดสอบการฟัง TOEIC โดยการฟังแบบจับคำสำคัญ.การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 6. [อินเทอร์เน็ต]. 2561[เข้าถึงเมื่อ 2 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.st/stou.ac.th/thai/grad_stdy/Master, 2561.

Rixon Shelagh. Developing listening skill. 1st ed. London: Macmilllan; 1986.

Underwood, M. Teaching listening. 1st ed. London: Addison-Wesley Longman; 1989

Larry and Christine. (2012). Teaching and Learning Second Language Listening. 1st ed. New York: Routledge; 2012.

สถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากลระดับชั้นมัธยมศึกษา. [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม 2562].

เข้าถึงได้จาก: http://www.english.obec.go.th, 2559.

Alison Devis. Teaching Reading Comprehension. 1st ed. New York: Eleanor Curtain; 1990.

Thomas G. Creating Reading Instruction For All Children. 1st ed. Massachusetts: Allyn and Bacon; 1992.

Yopp, Ruth, and Yopp Hallie. Literature Based Reading Activities. 1st ed. California: California Inc; 1992.

Grant Trew. Tactics for TOEIC Listening and Reading Test. 1st ed. New York: Oxford University Press; 2018.

ณัฐวรรธน์ กิจรัตนโกศล. TOEIC PRACTICE EXAMS. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เอ็มไอเอส; 2558.

ณัฐวิภา วิริยา. UPDATE! แนวข้อสอบ TOEIC + เทคนิค การทำข้อสอบ New TOEIC. พิมพ์ครั้ง ที่ 1.กรุงเทพมหานคร:

บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด; 2561.

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์และการสอน: องค์ความรูเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่21. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

Joyce and Weil . Model of Teaching. 9th ed. New York: Pearson Publishing; 2015.

Richard Hogg and David Denison. A History of the English Language. 1st ed. New York: Cambridge University Press; 2008.

บุญชัย คงศักดิ์ตระกูล. การสอนฟังภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการสอนแบบเน้นสื่อสารเพื่อยกระดับความสามารถในการทำข้อสอบTOEIC ด้านการฟัง สำหรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 1. [ดุษฏีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร : สถาบันเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น; 2561.

อารีย์ ปรีดีกุล. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ ตามหลักการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2554.