การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

กิตติพร พรเกียรติคุณ
กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล
แสงเดือน เจริญฉิม
ทำนุ ปัตพี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องการแปลงทางเรขาคณิตของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาและศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 35 คนได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มด้วยวิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ
ผลการวิจัยพบว่า
1) ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแปลงทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาอยู่ในระดับมาก


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สะเต็มศึกษากรุงเทพฯ . สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(สสวท.) ; 2557.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสัน ; 2553.

สุนารี ศรีบุญ. ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM Education โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม:มหาวิทยาลัยศิลปากร;2561

สุวิชญา คงสุข. การพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกาบเชิงวิทยา[วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. สุรินทร์:

มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์;2561

เจนจิรา สันติไพบูลย์. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิด STEAM ร่วมกับการสอนเชิงผลิตภาพ

เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการและความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

[วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต]. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2561

Yakman, G. STEAM Education: an overview of creating a model of integrative education. [Internet] 2021 [cited 2021 September, 2], Available from https://www.researchgate.net/publication/327351326_STEAM_ Education_a_vview_of_

reating a model of integrative education.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2556; 33 (2): 49-56.

วิสูตร โพธิ์เงิน. STEAM ศิลปะเพื่อสะเต็มศึกษา: การพัฒนาการรับรู้ความสามารถและแรงบันดาลใจให้เด็ก. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2560; 45 (1): 320-334.

นัสรินทร์ บือซา. ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

[วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์;2558.

จารีพร ผลมูล. การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการแบบ STEAM สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3: กรณีศึกษา ชุมชนวังตะกอ จังหวัดชุมพร [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2558.

มินตรา กระเป๋าทอง. การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครสวรรค์ :

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์;2561.