ปัจจัยการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

พันธ์แสน ใจชื้น
ปภัสวรรณ ภู่สุวรรณ
ศิริกัญญา พึ่งงาม
อุภาวดี เนื่องวรรณะ
วรกร แช่มเมืองปัก
ขวัญนรี กล้าปราบโจร
ฐิติพร พระโพธิ์
สร้อยเพชร ลิสนิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดีและโครงสร้างการบริหารที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษี
ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 243 บริษัท เครื่องมือที่ใช้การวิจัยโดยใช้แบบรายงานข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) รายงานงบการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และข้อมูล CG Score จากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในปี พ.ศ. 2563 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา
สถิติเชิงอนุมาน ด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า สัดส่วนคณะกรรมการอิสระมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริง อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05
และพบว่าสัดส่วนของผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราภาษีต่อสินทรัพย์รวม อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.01
แต่ไม่พบความสัมพันธ์กับระดับคะแนนการกำกับดูกิจการที่ดี สัดส่วนของผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติ
และการกระจุกตัวของคณะกรรมการกับอัตราภาษีเงินได้ที่แท้จริง
และไม่พบความสัมพันธ์กับระดับคะแนนการกำกับดูกิจการที่ดี สัดส่วนคณะกรรมการอิสระ
และการกระจุกตัวของคณะกรรมการกับอัตราภาษีต่อสินทรัพย์รวม
ผลจากการวิจัยผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไท
ยเพื่อให้มีกำไรทางภาษีลดลง เช่น การกำหนดกลยุทธิ์ภาษี การรู้ประเภทของรายได้และค่าใช้จ่ายที่หักภาษีได้ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิภาดา ศิรินพกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนกรรมการอิสระ ขนาดของคณะกรรมการบริษัทกับผลตอบแทนของหลักทรัพย์.[การศึกษาด้วยตนเองโครงการปริญญาโททางการบัญชี]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2552.

นวลนภา อัครพุทธิพรและศิลปพร ศรีจั่นเพชร. คะแนนประเมินการกำกับดูแลกิจการมีความสัมพันธ์กับมูลค่ากิจการหรือไม่ วารสารวิชาชีพบัญชี 2550; 6:95-105.

ธัญญา ฉัตรร่มเย็น. ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับผลการดำเนินงานของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET 100 [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

Hoffman, W.H. The theory of tax planning. The Accounting Review 1961; 2:274–281.

รสนา โชติสุวรรณ และสุภา คงทอง.ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับราคาหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2562; 14(1):23-36.

Jensen, M. C. and Meckling, W. H. Theory of the Firm: Managerial Behavior, Agency Costs and Ownership Structure. Journal of Financial Economics 1976;3:305 – 360.

กนกพร จิติลาภะ. การศึกษาผลกระทบของกลยุทธ์ในระดับธุรกิจต่อความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนคณะกรรมการอิสระกับผลการดำเนินงาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2561.

กาญจนา ตั้งภากรณ์. ประสิทธิผลของคณะกรรมการบริษัทที่มีผลต่อการดำเนินงานของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต]. กรงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.

ฐานนท์ คงสุข. อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อมูลค่าของกิจการโดยผ่านการ วางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : SET 100. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต]. นครราชสีมา:

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน; 2563.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. รายชื่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 สิงหาคม 2564].เข้าถึงได้จาก:https://www.set.or.th/th/company/companylist.html

Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and PsychologicalMeasurement1970;30:607-610.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. ผลคะแนน CG Score. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:https://market.sec.or.th

Field, A. Discovering statistic using SPSS for windows. London: Sage ; 2000.

ศิริธาน ศิริมณีธรรม. ผลกระทบของอิทธิพลร่วมระหว่างสัดส่วนกรรมการอิสระและกลยุทธ์ต่อผลการดำเนินงานของบริษัทกรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2555.

Haniffa, R. M., & Cooke, T. E. Culture, corporate governance and disclosure in Malaysian corporations. Abacus2002; 3: 317-349.

ทิวาพร พฤทธิประเสริฐ. คุณลักษณะของคณะกรรมการและการเข้าร่วมการต่อต้านการทุจริตในองค์กรต่อผลการดำเนินงานของบริษัท กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET 100.

[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

Fosberg, Richard H. Outside directors and Managerial monitoring. Akron business and Economic review 1989; 2: 24-33.

Marimuthu, M., and Kolandaisamy, I. Ethnic and gender diversity in boards of directors and their relevance to financial performance of Malaysian companies. Journal of Sustainable Development 2009; 2 (3): 139-148.

Masulis, R.W,. Wang, C., & Xie, F. Globalizing the boardroom: The effects of foreign directors on corporate governance and firm performance. Journal of Accounting and Economics 2012; 3:527-554.

สุชลธา บุพการะกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.

ปริยาพร วังเวียง. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของคณะกรรมการบริษัทกับการบริหารรายจ่ายภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารศิลปะศาสตร์และวิทยาการจัดการ 2562; 6(1): 46-64.

วิภาดา ภาโนมัย และ นงนิตย์ จันทร์จรัส. โครงสร้างคณะกรรมการบริหารกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนกลุ่มธุรกิจและอาหาร. วารสารการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 2559; 5(2): 44-55.