การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ของนักศึกษาครู

Main Article Content

ชนาธิป บุบผามาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานของนักศึกษาครู มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานของนักศึกษาครู 2) พัฒนาและหาคุณภาพของรูปแบบการสอนตามแนวคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานของนักศึกษาครู กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 5 จำนวน 47 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษา สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรียนรู้จากประสบการณ์จริง กิจกรรมต้องมีความหลากหลายและท้าทายให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด สื่อต้องมีความหลากหลาย น่าสนใจ หาง่าย การวัดและประเมินผลต้องมีการกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน วัดพฤติกรรมของผู้เรียนได้ครบทุกด้าน 2) รูปแบบการสอนตามแนวคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานของนักศึกษาครู (SIPIR Model) มีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน 4) การวัดและประเมินผล ซึ่งผลการตรวจสอบคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.62 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.56

Article Details

How to Cite
บุบผามาศ ช. (2022). การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ของนักศึกษาครู. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(1), 117–125. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/255875
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 –2564. กรุงเทพฯ; 2560.

สุริยา ฆ้องเสนาะ. ปัญหาส าคัญของการศึกษาปฐมวัย. [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 17 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.kruupdate.com/6901/

เยาวเรศ ภักดีจิตร. Active Learning กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ วันส่งเสริมวิชาการสู่คุณภาพการเรียนการสอน; 30 กรกฎาคม 2557; หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. จังหวัดนครสวรรค์: 2557. 1 – 8.

Mcgrath, J. R., and MacEwan, G. Linking pedagogical practices of activity based teaching. The International Journal of Interdisciplinary Social Sciences 2011; 6: 261-274.

Aslam, A., and Mazher. Enhancing communication skills of ESL primary students through activity based learning.European Journal of Language Studies 2015; 2: 1-15.

ปรีชญา สิทธิพันธุ์. การพัฒนาทักษะการคิดแบบ Critical Thinking. เอกสารประกอบการสัมมนาการพัฒนาทักษะการคิดแบบ Critical Thinking; อาคารจามจุรี9 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จังหวัดกรุงเทพมหานคร; 2557.

นุชจรีกิจวรรณ. กระบวนการคิดเชิงออกแบบ : มุมมองใหม่ของระบบสุขภาพไทย. วารสารสภาการพยาบาล 2561; 33: 5-14.

Seidel, V.P., & Fixson, S.K. Adopting Design Thinking in Novice Multidisciplinary Teams: The Application and Limits of Design Method and Reflexive Practices. Journal of Product innovation Management 2013; 30: 19 – 33.

ณัฐกฤตา ไทยวงศ์. การศึกษาผลการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. อยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา; 2562.

Brown, T. Change by design: how design thinking transforms organizations and inspires innovation. New York: HarperCollins Publishers; 2009.

วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์; 2555.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องมีคุณลักษณะอย่างไร. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.trueplookpanya.com/blog/content/68571/-blog-teaartedu-teaart-teaarttea-

พิมพันธ์ เดชะคุปต์และพเยาว์ ยินดีสุข. การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. วิธีสอนทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 4. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562.

วลัยนุช สกุลนุ้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สื่อการสอนตามความคิดเห็นของครูศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนนทบุรี. [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ15ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rpu.ac.th/Library_web/doc/RC_RR/2555_ComBus_Walainus.pdf

จินตนา ศิริธัญญารัตน์และวัชรา เล่าเรียนดี. การออกแบบระบบการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2563.

Joyce and Weil, M. Model of Teaching. Englewood Cliff, NJ: Prentice-Hall; 2009