ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเขียนข้อเสนอต่อการจัดทำคำของบประมาณตามแผนพัฒนามหาวิท ยาลัยราชภัฏเพชรบุรีของบุคลากรคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Main Article Content

ภาสิกา แจ่มจำรัส
ปราโมทย์ ตงฉิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาที่ส่งผลทำให้การขอโครงการไม่ผ่านการสนับสนุนหรือได้รับการสนับสนุนแต่ก็ต้องนำกลับมาแก้ไขโครงการ และ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาการเขียนข้อเสนอต่อการจัดทำคำของบประมาณตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยบุคลากรในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 32 คน โดยสุ่มแบบเจาะจง และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
ปัญหาในภาพรวมของการเขียนโครงการของบุคลากรคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีทั้งในด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และด้านความรู้ความเข้าใจ อยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 3.42, S.D.= 0.87) ซึ่งพบปัญหาความกระตือรือร้นในการหาข้อมูลเพื่อใช้ในการเขียนโครงการของบุคลากรมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.51 ซึ่งในด้านงบประมาณพบปัญหาการสนับสนุนเงินงบประมาณอย่างเพียงพอของมหาวิทยาลัย มากที่สุด (x̅= 3.54) และด้านความรู้ความเข้าใจพบปัญหาเกี่ยวกับระเบียบและมาตรการประหยัดของมหาวิทยาลัยมากที่สุด (x̅= 3.63)
ข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาบุคลากรของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีส่วนใหญ่เสนอให้จัดทำคู่มือการเขียนโครงการเพื่อจัดทำคำของบประมาณตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43.75 รองลงมาการให้คำแนะนำเป็นรายบุคคลสำหรับการเขียนโครงการ คิดเป็นร้อยละ 28.13 อันดับสามเสนอให้จัดฝึกอบรมการเขียนโครงการ คิดเป็นร้อยละ 21.88 แสดงให้เห็นว่าบุคลากรของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีส่วนใหญ่มีความสะดวกในการที่จะเขียนข้อเสนอตามคู่มือที่มีรายละเอียดครบถ้วนไว้ประจำตัวที่สามารถศึกษาและปฏิบัติตามได้เองอย่างถูกต้อง ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปควรมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบเจาะลึก ได้แก่ การสัมภาษณ์ควบคู่กับแบบสอบถาม ซึ่งจะช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลมีลักษณะที่ครอบคลุมชัดขึ้นและเกิดประโยชน์สูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รายงานการเปรียบเทียบโครงการ ที่ได้รับการพิจารณา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2562. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. เพชรบุรี; 2562.

วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์. การวางแผนและประเมินผลโครงการแบบมุ่งเน้นผลงานในภาครัฐ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

ณรงค์ สัจพันโรจน์. การจัดทำอนุมัติและบริหารงบประมาณแผ่นดิน ทฤษฎีและปฏิบัติ. บพิธการพิมพ์ : กรุงเทพฯ; 2538.

Heerkens, Gary R. Doing the project right : Project Management, New York : McGraw-Hill Companies, Inc.; 2002.

สมทรง อัศวกุล. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. นครราชสีมา : สถาบันราชภัฏนครราชสีมา; 2538.

สุวิมล ติรกานันท์. การประเมินโครงการ แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2543.

นภดล ร่มโพธิ์. การวัดผลและการปฏิบัติงานองค์กร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : มีน เซอร์วิส ซัพพลาย, 2558.

เชาว์ อินใย. การประเมินโครงการ, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

ไพรัช บวรสมพงษ์. แนวคิดและทฤษฎีการประเมินโครงการ. [ออนไลน์]. 2543 [เข้าถึงเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2553] เข้าถึงได้จาก http:wethost_most.go.th/secretary/Document/stg03.ppt

สิรินทร อินทร์สวาท.การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานครและความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2542.

ฐิติมา จันทรวิสิทธิ์. การวิเคราะห์งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลไผ่กองดิน

อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2553.