การจัดการความรู้ด้านการสอนภาษาจีนในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาจีน ของนักเรียนโรงเรียนหนองรีประชานิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กาญจนบุรี

Main Article Content

กรกนก สอนจันทร์

บทคัดย่อ

 


ภาษาจีนเป็นภาษาที่สำคัญมากภาษาหนึ่ง ในศตวรรษ 21 ซึ่งเป็นโลกของการสื่อสารไร้พรมแดน มีความก้าวหน้าในวิทยาการที่ทันสมัยที่สามารถนำมาใช้บูรณาการการบริหารจัดการศึกษา พัฒนาครู และผู้เรียน ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเรื่องการจัดการความรู้ด้านการสอนภาษาจีนในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาจีน ของนักเรียนโรงเรียนหนองรีประชานิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษามัธยมศึกษา กาญจนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการความรู้ด้านการสอนภาษาจีน ในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน และ 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาจีนของนักเรียนโรงเรียนหนองรีประชานิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนหนองรีประชานิมิต ได้จากการเลือกเจาะจงจากครูที่สมัครใจใช้ในการจัดสนทนากลุ่ม จำนวน 10 คน นักเรียนโรงเรียนหนองรีประชานิมิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ห้อง ห้อง ม.5/3 จำนวน 35 คน ได้มาจากการสุ่มแบบจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินผลการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้  แบบทดสอบ จำนวน 30 ข้อ และประเด็นการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


  1. การจัดการความรู้ด้านการสอนภาษาจีน ในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน พบว่ามีกระบวนการจัดการความรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการค้นหาความรู้ ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการวัดประเมินผล องค์ความรู้ในการจัดทำแผนการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะในการด้านการสอนภาษาจีน องค์ความรู้การพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนภาษาจีน 2) ขั้นการสร้างความรู้ ครูได้เข้าร่วมประชุมสนทนากลุ่มเพื่อเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำแผน การสร้างกิจกรรม การสร้างแบบประเมินทักษะการอ่านการเขียน ได้แผนจัดการเรียนรู้ 17 แผน เป็นแผนการอ่านภาษาจีน 9 แผน และแผนการพัฒนาการเขียน 8 แผน 3) ขั้นการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ ครูและผู้วิจัยการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนตามกำหนดการสอน พร้อมทั้งนิเทศประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูตามองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูมีระดับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) ขั้นการจัดเก็บองค์ความรู้ ได้นำแผนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน  และผลการวิจัย โดยจัดเก็บไว้ในฐานระบบการเรียนรู้ ในระบบกูเกิลไดรฟ์ กูเกิ้ลคลาสรูม คิวอาร์โค้ด และเผยแพร่ทางเวปไซต์

  2. ผลการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาจีนของนักเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองรีประชานิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กาญจนบุรี โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ด้านการสอนภาษาจีน พบว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05

            ข้อค้นพบจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า กระบวนการจัดการความรู้มีความสำคัญต่อ การเรียนการสอนภาษาจีนในขั้นการถ่ายทอดความรู้ โดยใช้การสอนเชิงปฏิบัติการ และการจัดเก็บองค์ความรู้โดยการจัดทำเป็นฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นครูผู้สอนและบริหารควรเห็นความสำคัญของกระบวนการจัดการความรู้ เพื่อแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ในการจัดการเรียนการสอนเชิงปฏิบัติการร่วมกันภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ

Article Details

บท
Articles

References

[1] พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. การสอนคิดด้วยโครงงาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.
[2] กระทรวงศึกษาธิการ. ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2560.
[3] น้ำทิพย์ วิภาวิน. ประเด็นสาระหลักที่1 มิติด้านศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์มิติสารสนเทศศาสตร์. นนทบุรี: สาขาวิชาศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2560.
[4] สำนักยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย. ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา; 2553.
[5] ปัญญา วรรณชัย. ความสามารถด้านการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบทางตรง[ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
[6] เซิงอี่ผิง (Zeng Aiping). การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู [ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2559.
[7] อดิเรก นวลศรี และ ปิยนันต์ คล้ายจันทร์. ศึกษาความต้องการและแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครนนทบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.
[8] นุกูล ธรรมจง. ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษรภาษาจีนกลาง “ไทยพินอิน”ที่มีต่อความสามารถในการอ่านออกเสียงสัทอักษรจีนกลาง ของนักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง; 2556.