องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : การบริการสาธารณะ

Main Article Content

ณัทกวี ศิริรัตน์

บทคัดย่อ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นตัวแทนของประชาชนในท้องถิ่นจะเป็นผู้ดำเนินการบริหารท้องถิ่น ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นอย่างเป็นอิสระ ภายใต้กรอบนโยบาย และการกำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยการปกครองตนเองของประชาชนในท้องถิ่น ดำเนินการบริหารงานในระดับรองจากระดับชาติ หรือระดับรัฐ การบริหารงานท้องถิ่นเกิดจากการกระจายอำนาจของรัฐบาลเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นปกครองตนเอง ในรูปแบบของการปกครองท้องถิ่น (Local Government) การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีความตระหนักในความมีมาตรฐาน โดยเฉพาะการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน โดยคำนึงถึงการให้บริการที่ดี ความสะดวกในการเข้าถึงบริการที่ทำให้ประชาชนที่มาติดต่อขอรับบริการได้รับความเสมอภาค ความเป็นธรรม และมีอัธยาศัยต่อประชาชนด้วยดีภายใต้กฎหมายข้อบังคับและระเบียบต่าง ๆ ที่กำหนด ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีความพึงพอใจและให้ความร่วมมือกับองค์กรที่ให้บริการอย่างเต็มที่

Article Details

How to Cite
ศิริรัตน์ ณ. (2022). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : การบริการสาธารณะ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(1), 131–142. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/253882
บท
บทความวิชาการ

References

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่น : สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย. กรุงเทพฯ:โฟร์เพซ; 2545.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. การเมืองของพลเมือง: สู่สหัสวรรษใหม่ (Civicness and self-government). กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ; 2543.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. ทิศทางการปกครองท้องถิ่นไทยและต่างประเทศเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน; 2546.

โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ :วิญญูชน; 2548.

สมาน รังสิโยกฤษฎ์. การปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศต่างๆ. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ; 2543.

อำนวย บุญรัตนไมตรี และนิพนธ์ ไตรสรณะกุล. การบริหารงานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

กรณีการบริหารเทศบาลตามมาตรฐานการจัดทำบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐาน. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ 2558;17;93-108.

จรัส สุวรรณมาลา. การพัฒนาคุณภาพบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.

Heywood, P. Political corruption: Problems and perspectives. Political Studies Association; 2002.

จรัส สุวรรณมาลา. รัฐบาล-ท้องถิ่น ใครควรจัดบริการสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.); 2542.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.การพัฒนาคุณภาพบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น; 2544.

รสคนธ์ รัตยเสริมพงศ์, “ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น”,

เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช;2557.

รสคนธ์ รัตยเสริมพงศ์. อ้างแล้ว. หน้า 15-13 - 15-14.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. เครือข่าย: นวัตกรรมการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทวิเคราะห์ว่าด้วยการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแนวระนาบเพื่อการเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานและความรับผิดชอบต่อสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย;2550.

สุดเขต สกุลทอง. กระบวนการพัมนาสมรรถนะบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริการสาธารณะอย่างยั่งยืน[ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต]. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2559.

วุฒิสาร ตันไชย และเอกวีร์ มีสุข. ระบบการปกครองท้องถิ่นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน: ราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า; 2558.