อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานและความมุ่งมั่นทุ่มเทในงานที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างความฉลาดทางอารมณ์สู่ผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง Influence of Work Motivation and Work Dedication as the Mediator between Emotional Intelligence and Employee Performance of Auto Parts Company in Rayong Province

Main Article Content

สุคนธ์ทิพย์ อินทรกมล
สุมาลี รามนัฏ
ธัญนันท์ บุญอยู่

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของความฉลาดทางอารมณ์ แรงจูงใจในการทำงาน ความมุ่งมั่นทุ่มเทในงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง 2)เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงานที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง และ 3) เพื่อศึกษาความมุ่งมั่นทุ่มเทในงานที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ พนักงานบริษัทอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง จำนวน 100 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ได้คือแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.942 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรม Smart PLS 3.0 ผลการวิจัยพบว่า 1) ความมุ่งมั่นทุ่มเทในงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในระดับมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ ความฉลาดทางอารมณ์ ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน และแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน 2)
แรงจูงใจในการทำงานเป็นตัวแปรคั่นกลางระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และผลการปฏิบัติงานโดยมีค่าสัมประสิทธิ์ขอบเขตล่างเท่ากับ 0.1632 และขอบเขตบนเท่ากับ 0.3665 และ 3) ความมุ่งมั่นทุ่มเทในงานเป็นตัวแปรคั่นกลางระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และผลการปฏิบัติงาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ขอบเขตล่างเท่ากับ 0.2167 และขอบเขตบนเท่ากับ 0.487 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แรงจูงใจในการทำงานและความมุ่งมั่นทุ่มเทในงานที่เป็นปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างอิทธิพลของความฉลาดทางอารมณ์ส่งผลให้กับผลการปฏิบัติงานของพนักงานโดยมีค่าช่วงความเชื่อมั่นอย่างมีค่านัยสำคัญ
ในทำนองเดียวกันผลการปฏิบัติงานของพนักงานก็ส่งผลให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานเช่นกัน

Article Details

How to Cite
อินทรกมล ส., รามนัฏ ส. ., & บุญอยู่ ธ. . (2022). อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานและความมุ่งมั่นทุ่มเทในงานที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างความฉลาดทางอารมณ์สู่ผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง: Influence of Work Motivation and Work Dedication as the Mediator between Emotional Intelligence and Employee Performance of Auto Parts Company in Rayong Province. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(1), 60–69. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/253852
บท
บทความวิจัย

References

Saltson, E., Nsiah, S. The Mediating and Moderating Effects of Motivation in the Relationship between Perceived Organizational Support and Employee Job Performance. International Journal of Economics, Commerce and Management 2015; 3(7): 654-667

ตะวันฉาย โพธิ์รักษา และ ธัญนันท์ บุญอยู่. อิทธิพลของความผูกพันต่อองค์กรและแรงจูงใจในการทำงานที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรสู่ผลการปฏิบัติงานของพนักงานสถานีบริการน้ำมันในเขตอ้อมใหญ่ อำเภอสามพรานจังหวัดนครปฐม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2563;14(1):263-277.

Kappagoda, S., Othman, H. Z. F., & Alwis, G. D. The Impact of Psychological Capital on Job Performance: Development of a Conceptual Framework. European Journal of Business and Management 2014; 6(15): 143-154

Gillet, N., Huart, I., Colombat, P., & Fouquereau, E. Perceived Organizational Support, Motivation, and Engagement among Police Officers. Professional Psychology: Research and Practice 2013;44(1): 46-55.

Rich, B. L., Lepine, J. A., & Crawford, E. R. Job Engagement: Antecedents and Effects on Job Performance. Academy of Management Journal 2010; 53(3): 617-635

กุนนทีพุ่มสงวน. พยาบาลกับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15(3):18-23.

Goleman, D. Working with Emotional Intelligence. New York: Bantam Books;1998.

เทอดศักดิ์ เดชคง. จากความฉลาดทางอารมณ์สู่สติและปัญญา. (พิมพ์ครั้งที่10) . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน ; 2547

Elnaga, A., Imran, A. (2013). The Effect of Training on Employee Performance. European Journal of Business and Management 2013; 5(4): 137-147.

Tampu, D. L. I., Cochina, I. Motivation & Employee performance. Management and Innovation for Competitive Advantage 2015; 9: 812-821.

Elizabeth BKM, Kwesi AT. Employee motivation and work performance: A comparative study of mining companies in Ghana. Journal of Industrial Engineering and Management 2016;9(2):255-309.

Chobsa-ard, V., Boonyoo, T. Serial mediated effects of motivation and work values in influencing self-esteem towards effectiveness of volunteers at saint peter’s church, Samphran, Nakhon Pathom. The 13th National and International Sripatum University Conference (SPUCON 2018);2018. 260-268

Suyanto, S. Competence and Discipline on Work Motivation and the Implication on Working Performance. European Research Studies Journal 2018;21:570-587.

มนตรีพิริยะกุล. ตัวแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง;2553

ปัณณทัต วลาบูรณ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับแรงจูงใจในการทำงานของครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดจันทบุรีสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา;2559

Kanter, R.M. Dilemmas of Managing Participation. Organizational Dynamics 1982;11: 5-29

Caroline Ngonyo Njoroge, Rashad Yazdanifard. The Impact of Social and Emotional Intelligence on Employee Motivation in a Multigenerational Workplace. Global Journal of Management and Business Research 2014;14(3):30-36.

Mahfuz, J. Emotional intelligence and retention: the moderating role of job involvement. International Journal of Social, Behavioral, Educational, Economic, Business and Industrial Engineering 2013; 7(3):656-661.

จุฑามาศ มีน้อย , ดาวลอย กาญจนมณีเสถียร. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สรรพากรในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต].นครปฐม:มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2011

คันศร แสงศรีจันทร์. ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาล ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต].เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง;2550.

สุกสาคอน สีจันทา. อิทธิพลของทรัพยากรในงานและความมุ่งมั่นในการทำงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ในนครหลวงเวียงจันทน์สปป.ลาว. สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2561

วรรณชนก ไกรเพชร และ วัชระ เวชประสิทธิ์. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของพนักงานโรงแรมสีเขียวในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี2563;10(3):56-67

Peter Salovey, John D. Mayer. Emotional Intelligence Imagination Cognition and Personality. New Jersey: McGraw-Hill; 1997

Hambleton, R. K., & Cook, L. L. Latent trait models and their use in the analysis of educational test data. Journal of educational measurement 1977;14(2):75-96