การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการจับใจความ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ชรินรัตน์ แดงนา
ทัศนีย์ จันติยะ
สุภิญญา ปัญญาสีห์
จิราภรณ์ กาแก้ว
โชคชัย เตโช
ศศิธร ศรีพรหม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการจับใจความโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70  2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการจับใจความโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการจับใจความโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 แผน และ แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการจับใจความก่อนและหลังการทดลอง จำนวน 25 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการจับใจความโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70

  2. ผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการจับใจความโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 แสดงว่าการใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ในการพัฒนาการอ่านนักเรียนส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้สามารถจับใจความภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด; 2552.

ฉัตรประวีณ วัฒายุ. การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3

[วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2555.

ศราวุฒิ เวียงอินทร. การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยเนื้อหาตามบริบทท้องถิ่นโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2560.

แววมยุรา เหมือนนิล. การอ่านจับใจความ. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก; 2538.

ศรีวิไล พลมณ. พื้นฐานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. เชียงใหม่: ศูนย์ไทยศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2545.

ทักษพร โพธิ์เหมือน. การพัฒนาการอ่านจับใจความโดยใช้เหกนิด 4W1H

ส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต].

กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2561.

นงค์นาถ ชาววัง. การสำรวจปัญหาการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1, 2, 3 และ 7 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2551.

Johnson, D. W., and Johnson, R. T. Leading the cooperative school (2nd ed.). Edina, MN: Interaction Book Company; 1994.

ปัทมา เอี่ยมสุวรรณ. การใช้กลวิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552.

สุวิทย์ มูลคํา และอรทัย มูลคํา. 19 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2545.

Lawshe. A Quantitative Approach to Content Validity. London: Blackwell Publishing; 1975.

บุญเรียง ขจรศิลป์. วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: พิชาญพริ้นติ้ง; 2553.

สมนึก ภัททิยธนี. การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์; 2544.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ; 2540.

พิมพร พยุหะ. การใช้การอ่านแบบจิ๊กซอว์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านการเขียนสรุปความ ภาษาอังกฤษและทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

ณฐกมล พินิจศักด์. การพัฒนักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง ชั้นปีที่1

วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลพณิชยการด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิ๊กซอว์ (Jigsaw). วิจัยในชั้นเรียน[วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2559.