การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยใช้เทคนิค DR-TA

Main Article Content

อาชว์ เรืองตระกูล
ทัศนีย์ จันติยะ
สุภิญญา ปัญญาสีห์
จิราภรณ์ กาแก้ว
โชคชัย เตโช
ศศิธร ศรีพรหม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเทคนิค DR-TA และเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ด้วยเทคนิค DR-TA ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563
โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 45 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนอ่านแบบชี้นำ-ความคิด (Directed Reading Thinking
Activity) และแบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การสอนอ่านแบบชี้นำ-ความคิด
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่าคะแนนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01และนักเรียนมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค DR-TA ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 35 คนคิดเป็นร้อยละ 77.78 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

อัมพันธ์ ดอกเตย. การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้หนังสือจัดระดับ.

พิฆเนศวร์สาร2560;1:59-71.

กระทรวงศึกษาธิการ. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2551.

สุวีรยา ทองประดิษฐ์, และ นิสากร จารุมณี. การพัฒนาบทเรียนอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เนื้อหาบริบทท้องถิ่น. วารสารมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร 2561;2:77-96.

ผัสสพรรณ ถนอมพงษ์ชาติ, สุมาลี ชิโนกุล, และ สำลี ทองธิว. หกขั้นตอนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวคิด.

Suranaree Journal of Science and Technology 2013; 2: 59-78.

เอกลักษณ์ เทพวิจิตร. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA

(Directed Reading - Thinking Activity). วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 2560 ;2 :17-28.

Stauffer, R. G. Teaching reading as a thinking process. New York: Harper & Row; 1969.

Tierney, R. J. et al. Reading strategies and practices (4th ed.). Massachusetts: Allyn and Bacon; 1995.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ :

สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร; 2540.

ประสพชัย พสุนนท์. ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ วารสารสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2558;18:375-396

สันติ งามเสริฐ, นาวาตรี. การสร้างข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านสังคมศาสตร์

มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ 2560;1:48-66.

ศิริชัย กาญจนวาสี. การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์; 2544.

ณัฐธิดา กลางประชา. การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โดยใช้การสอนอ่านแบบ Directed Reading – Thinking Activity (DR-TA). วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา 2557;1(37):53-59.