การพัฒนาการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านเกมประกอบการสอน ในนักเรียนชั้นมัธยมศีกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา

Main Article Content

ทัศนีย์ จันติยะ
ณัฐนนท์ ภู่ตระกูล
สุภิญญา ปัญญาสีห์
จิราภรณ์ กาแก้ว
โชคชัย เตโช
ศศิธร ศรีพรหม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการจดจำคำศัพท์ของนักเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียน 2. เพื่อพัฒนาการจดจำคำศัพท์โดยใช้เกมประกอบการสอน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/5 โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 37 คน โดยการวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมประกอบการสอน วิชาภาษาอังกฤษ (อ23101) และ แบบทดสอบวัดความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อน – หลังเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


            ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนโดยการใช้เกมประกอบการสอนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 แสดงว่าการใช้เกมคำศัพท์ประกอบการสอนส่งเสริมให้นักเรียนจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น 2. การจดจำคำศัพท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการสอนโดยใช้เกมประกอบการสอน มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 83.78 ของนักเรียนทั้งหมด และนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 16.21 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 

Article Details

บท
Articles

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
[2] เอกอนงค์ ปวง. (2550). การใช้กิจกรรมสถานการณ์จำลอง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง พูด ภาษาอังกฤษและแรงจูงใจของนักเรียนในระดับกำลังพัฒนา . มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/เชียงใหม่.
[3] พิสมัย รุ่งโรจน์นิมิตชัย. (2548). การศึกษาความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษจากการสอนโดยใช้กิจกรรมเกมคำศัพท์ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.สารนิพนธ์ กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
[4] กนิษฐา ระเวช. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจไวยากรณ์และคำศัพท์กับความสามารถ
ในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[5] ประนอม สุรัสวดี. (2539). กิจกรรมและสื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] บุษรีย์ ฤกษ์เมือง. (2556). การใช้เกมคำศัพท์ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบุรารักษ์.สารนิพนธ์ ศศ.ม.กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
[7] Lawshe. C. H. (1975). A Quantitative Approach to Content Validity. Personnel Psychology, 563-575.
[8] บุญเรียง ขจรศิลป์. (2533). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: พิชาญพริ้นติ้ง.
[9] สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
[10] ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2540). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
[11] สําเนา ศรีประมง. (2547). การศึกษาผลการใช้เกมคําศัพท์ประกอบการสอนที่มีผลต่อความคงทนในการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง. สารนิพนธ์ ศศ.ม.กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร