การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักทิศ 6 โดยกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชน ของวัดทองนพคุณ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

วัชรพงษ์ นาคะสิทธิ์
สมนึก ชูปานกลีบ
สุมาลี พงศ์ติยะไพบูลย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนของวัดทองนพคุณ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 2)
ประเมินผลของกระบวนการส่งธรรมสู่ชุมชนที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคลที่พึงปฏิบัติต่อกันในแต่ละทิศในชุมชนของวัดทองนพคุณ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนของวัดทองนพคุณ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 30 ครัวเรือนๆ ละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 90 คน และประชาชนที่เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 10 ครัวเรือนๆ ละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและการจัดสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1)กระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนของวัดทองนพคุณ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นกระบวนการสร้างครอบครัวและชุมชนคุณธรรม จริยธรรม ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การให้ความรู้เรื่องหลักทิศ 6 แก่ชุมชน โดยการเทศน์ตามกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนแต่ละหมู่บ้านก่อนการเข้าพรรษา ขั้นที่ 2 การบ่มเพาะพฤติกรรมตามหลักทิศ 6โดยผ่านกระบวนการสะท้อนคิดและการให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม ตามแบบการให้ คำปรึกษาเชิงพุทธ ซึ่งมีการติดตามการปฏิบัติตามหลักทิศ 6ทุกวันธรรมสวนะ ตลอดพรรษา ขั้นที่ 3 ประเมินพฤติกรรมของ บุคคลที่พึงปฏิบัติต่อกันในแต่ละทิศ โดยสอบถามพฤติกรรมของบุคคลที่พึงปฏิบัติต่อกันตามหลักธรรมทิศ 6 และสัมภาษณ์พฤติกรรมตามบทบาทหลักทิศ 6 2) ผลของกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคลที่พึงปฏิบัติต่อกันในแต่ละทิศ ในชุมชนของวัดทองนพคุณ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี พบว่า การปฏิบัติตามหลักทิศ 6 ในแต่ละบทบาทของแต่ละทิศ พบว่า ทิศทั้ง 6 ซึ่งประกอบด้วย บิดามารดา ครูอาจารย์ สามีภรรยา มิตรสหาย พระสงฆ์ และนายจ้างลูกจ้างมีพฤติกรรมในการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันและกัน ข้อค้นพบจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า กระบวนการส่งธรรมสู่ชุมชนของวัดทองนพคุณ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตามหลักธรรมทิศ 6 ในแต่ละบทบาทของแต่ละทิศมีการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อกัน และมีคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งทำให้คนในชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและเป็นระเบียบ

Article Details

How to Cite
นาคะสิทธิ์ ว., ชูปานกลีบ ส. ., & พงศ์ติยะไพบูลย์ ส. (2022). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักทิศ 6 โดยกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชน ของวัดทองนพคุณ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(1), 70–84. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/253769
บท
บทความวิจัย

References

ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. ครอบครัวคุณธรรม. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง; 2560.

เสถียร โพธินันทะ. ประวัติศาสตร์พุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: มหามงกุฎราชวิทยาลัย; 2543.

สิริพิชญ์ เตชะไกรศรี. การเผยแผ่ธรรมะเชิงรุกตามวิถีพุทธ ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดกิจกรรมธรรมะในสวน ณ สวนหลวง ร.9

[วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2550.

Abraham H.Maslow. ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการ. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://phunthararat.blogspot.com/2018/11/abraham-maslow.html

พระพรมคุณาภรณ์. ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 116.กรุงเทพฯ: สหธรรมิก; 2555.

อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน. พุทธศาสน์แนวปฏิบัติเพื่อชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2551.

ประยุทธ์ ปยุตโต. ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 108. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย; 2535.

เดือน คำดี. พุทธปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2534.