การพัฒนาแอปพลิเคชันการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และวิถีชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้านบุ และชุมชนเกาะเกร็ด

Main Article Content

โอปอ กลับสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และออกแบบแอปพลิเคชันการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชุมชน
กรณีศึกษาชุมชนบ้านบุและชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 2) พัฒนาแอปพลิเคชันการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้านบุและชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้แอปพลิเคชันการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้านบุและชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบรี ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยใช้รูปแบบวงจรการพัฒนาระบบ (System Develop Life Cycle : SDLC) และประเมินความพึงพอใจโดยใช้แบบสอบถาม
โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวที่ใช้อุปกรณ์พกพาระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จำนวน 100 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์ข้อมูลแอปพลิเคชันการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้านบุ
และชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วยขั้นตอน การกำหนดปัญหา การวิเคราะห์ระบบ การออกแบบ การพัฒนาระบบการทดสอบและปรับปรุงแก้ไข และการติดตั้ง 2) แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นแบ่งการทำงานออกเป็น 4 ระบบ หลักคือ
ระบบจัดการข้อมูลเข้าใช้งาน ระบบการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชุมชนระบบกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชุมชน และระบบจัดการกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) ผลการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้งานแอปพลิเคชันการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้านบุและชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 4.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สมชาย ชมภูน้อย.. แนวทางการเพิ่มมูลค่าท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

สถาบันวิชาการป้องกัน;2561

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. รายงานสถิตินักท่องเที่ยว. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก:

https://mots.go.th/more_news_new.php?cid=585

สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. ผลส ารวจความคิดเห็นของชาวต่างชาติ. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ1 เมษายน 2564].

เข้าถึงได้จาก: www.thailandtourismcouncil.org

ประชาติธุรกิจ. บอร์ดนโยบายท่องเที่ยวเดินหน้าเปิดประเทศ ปี65 ระดมฉีดวัคซีน 10 จว.ท่องเที่ยว. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ

กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.prachachat.net/tourism/news-664575

มูลนิธิทีเอ็มบี. ข้อมูลชุมชนบ้านบุ.[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมือ 1 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: www.tmbfoundation.ro.th

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. ข้อมูลชุมชนเกาะเกร็ด. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ1 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: www.sac.or.th

(เมตตา เสลานนท์. ผู้ให้สัมภาษณ์. 1 มีนาคม 2564)

(ภัทรพิชิต บุญจินต์. ผู้ให้สัมภาษณ์. 1 มีนาคม 2564)

(จรรยาณีสะยุมมา. ผู้ให้สัมภาษณ์. 1 มีนาคม 2564)

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี2564 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมือ 15กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://mots.go.th/more_news_new.php?cid=630

ซาบีน่า อาหรับ, เอมอร อ่าวสกุล แอพพลิเคชันส าหรับการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ในชุมชน ต าบลท่าข้ามอ าเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติครั้งที่ 2 มนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม; 5-6สิงหาคม 2562 ; 467-477

สหัทยา สิทธิวิเศษ, จงรักษ์มณีวรรณ์, วราภรณ์ศรีนาราช, สมประสงค์แสงอินทร์. การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันน าทางท่องเที่ยวด้วยตนเองในพื้นที่ต าบลป่าตึง อ าเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารมนุษย์สังคมสาร 2562; 17: 25-44

สุธิรา จันทร์ปุ่ม, พิเชนทร์จันทร์ปุ่ม, และ แพรตะวัน จารุตัน. การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนครบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 2560; 4: 114-120