การพัฒนาแอปพลิเคชันแนะนำรายการอาหารท้องถิ่นภาคใต้ จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

โอปอ กลับสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์และออกแบบแอปพลิเคชันแนะนำรายการอาหารท้องถิ่นภาคใต้ จังหวัดพัทลุง 2) พัฒนาแอปพลิเคชันแนะนำรายการอาหารท้องถิ่นภาคใต้ จังหวัดพัทลุง 3) ประเมินความพึงพอใจของการใช้แอปพลิเคชันแนะนำรายการอาหารท้องถิ่นภาคใต้ จังหวัดพัทลุง มีการวิเคราะห์และออกแบบระบบ โดยการใช้ UML, Use Case Diagram, Class Diagram และ Sequence Diagram และในการพัฒนาแอปพลิเคชันผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาแอปพลิเคชัน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ศึกษาข้อมูลวิธีการเขียนโปรแกรม 2) การพัฒนาระบบ 3) การทดสอบและการนำไปใช้ โดยใช้ PHP และโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล MySQL, Visual Studio Code และ XAMPP ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน โดย Android Studio นั้นเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างแอปพลิเคชันด้วยการเขียนโค้ดด้วย ภาษา JAVA SCRIPT นอกจากนี้ในการประเมินความพึงพอใจของแอปพลิเคชันได้ทำการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 101 คน โดยการเลือกใช้เกณฑ์ในการกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็นด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาแอปพลิเคชันแนะนำรายการอาการท้องถิ่นภาคใต้ จังหวัดพัทลุง ได้ทำการพัฒนาระบบโดยมี 2 ระบบใหญ่ ดังนี้ 1) ระบบโมบายแอปพลิเคชันแนะนำรายการอาหารท้องถิ่นภาคใต้ จังหวัดพัทลุง 2) ระบบเว็บแอปพลิเคชันแนะนำรายการอาหารท้องถิ่นภาคใต้ จังหวัดพัทลุง ซึ่งระบบโมบายแอปพลิเคชัน แบ่งเป็นระบบย่อย ดังนี้ ระบบจัดการข้อมูลผู้ใช้งาน ระบบแนะนำรายการอาหารท้องถิ่น ระบบแสดงความคิดเห็น ส่วนของระบบเว็บแอปพลิเคชัน แบ่งเป็นระบบย่อย ดังนี้ ระบบจัดการข้อมูลผู้ใช้งาน ระบบจัดการข้อมูลรายการอาหารท้องถิ่น ระบบจัดการแสดงความคิดเห็น และจากการประเมินประสิทธิภาพความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานด้านความปลอดภัยของระบบ มีผลประเมินอยู่ในระดับมาก (  = 4.59, S.D. = 0.56)


              คำสำคัญ: แอปพลิเคชันแนะนำอาหาร  อาหารท้องถิ่นใต้  จังหวัดพัทลุง

Article Details

How to Cite
กลับสกุล โ. (2022). การพัฒนาแอปพลิเคชันแนะนำรายการอาหารท้องถิ่นภาคใต้ จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(3), 82–90. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/253545
บท
Articles

References

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิตินักท่องเที่ยว. https://secretary.mots.go.th/
policy/
ชลลดา ทวีคูณ. (2558). การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในมิติอาหารเพื่อสุขภาพ : กรณีศึกษา
ชุมชนไทยทรงดำ ตำบลไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. นครปฐม :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ณัฐรุจา พงศ์สุพัฒน์. (2561). การศึกษาตลาดแอปพลิเคชันอาหารและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อ การตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันอาหาร. กรุงเทพฯ : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นภาพร ตระหง่าน. (24 เมษายน 2563). ปัญหาการเข้าถึงข้อมูลอาหารท้องถิ่น. https://forms.gle/
4RLo8PhaWaSUoBzC8
บุษริน เพชรมณี. (24 เมษายน 2563). ปัญหาการเข้าถึงข้อมูลอาหารท้องถิ่น. https://forms.gle/
4RLo8PhaWaSUoBzC8
มาลิษา วงค์แก้ว. (24 เมษายน 2563). ปัญหาการเข้าถึงข้อมูลอาหารท้องถิ่น. https://forms.gle/
4RLo8PhaWaSUoBzC8
ยศวรรธน์ ชาวส้าน. (2562). แอปพลิเคชันแนะนำร้านอาหารเจในกรุงเทพมหานครบนระบบ
ปฏิบัติการแอนดรอยด์. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วาสนา ทองเหมือน. (8 เมษายน 2563). ลักษณะอาหารภาคใต้. https://forms.gle/4RLo8Pha
WaSUoBzC8
สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. (2562). ภูมิประเทศ/อากาศ. http://www.
phatthalung.go.th/terrain
อำพล อาจหาญ. (8 เมษายน 2563). ท้องถิ่นจังอาหารหวัดพัทลุง. https://forms.gle/4RLo8Pha
WaSUoBzC8