ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2563
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคลของนักศึกษาที่มีผลต่อการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษาพ.ศ.2563 และ 3) นำผลที่ได้มาพัฒนานโยบาย วางแผนและพัฒนาการให้บริการของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีให้ดียิ่งขึ้นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษา การวิจัยในครั้งนี้มีจำนวนขนาดตัวอย่าง จำนวน 500 คน คิดเป็นร้อยละ 85.62 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงานอธิการบดี มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 3.90 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยงานที่มีระดับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงที่สุดคือ งานกิจการนักศึกษา งานสถานที่ สภาพแวดล้อม และการบริการต่าง ๆ ในส่วนงานที่มีระดับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำที่สุดคือ งานบริการศูนย์คอมพิวเตอร์ เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ด้วยสถิติ One-way ANOVA พบว่า ภาคการศึกษา คณะและผลการเรียนเฉลี่ยสะสมที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ทั้งภาพรวมและรายด้านจากผลการวิจัยจึงเสนอแนวทางการพัฒนา ดังนี้ 1) ควรเพิ่มช่องทางการแจ้งข้อมูล ข่าวสาร ผ่านช่องทางออนไลน์ 2)ปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการด้วยความเต็มใจ รวดเร็ว ถูกต้อง และเท่าเทียม 3) ปรับปรุงอาคารและครุภัณฑ์ที่ทรุดโทรมให้มีความพร้อมในการใช้งานอยู่ตลอดเวลา และ 4) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่องให้ตอบสนองกับสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019และเพื่อเพิ่มระดับความพึงพอใจให้อยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
กองนโยบายและแผน ส านักงานอธิการบดี. การแบ่งส่วนงานในส านักงานคณบดีส านักงานผู้อ านวยการ กอง ส่วนราชการหรือหน่วยงาน
ที่เรียกชื่องอย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากอง และการจัดตั้งหน่วยงานภายใน ในสังกัดส านักงานอธิการบดีที่มีฐานะเทียบเท่ากอง. เพชรบุรี: กองนโยบายและแผน; 2562
ธีรวุฒิเอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ :วิทยาออฟเซทการพิมพ์; 2550.
ธานินทร์ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี; 2552.
ภาณุเดช เพียรความสุข และคณะ. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการของส านักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: ส านักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏบลราชธานี; 2558.
สุวิมล ค าย่อย. ความพึงพอใจของผู้มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลบ้านหยวก อ าเภอน้ าโสม จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี:โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลบ้านหยวก; 2555.
รุ่งอรุณ พรเจริญ. ความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2558