น้ำสลัดแครอทเพื่อสุขภาพ ของโรงแรมอมารี หัวหิน

Main Article Content

waewdao ่Jhongkolnee

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 


          งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรน้ำสลัดแครอทเพื่อสุขภาพและเพื่อศึกษาระดับการยอมรับของพนักงานแผนกครัว และแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่ม โรงแรมอมารี หัวหินที่มีต่อน้ำสลัดเพื่อสุขภาพที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยการนำแครอทเติมลงในสูตร เลมอน เดรสซิ่ง ในปริมาณที่แตกต่างกัน คือ 100 กรัม 200 กรัม และ 300 กรัม  เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ในด้าน สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบรวม ทำการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส ด้วยวิธีการให้คะแนนความชอบ 9-Point Hedonic Scale กับผู้ทดสอบชิม จำนวน 5 คน และประเมินการยอมรับของพนักงานที่มีต่อผลิตภัณฑ์ จำนวน 25 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สูตรน้ำสลัดที่เติมแครอท 200 กรัม ได้รับคะแนนความชอบมากที่สุด พนักงานยอมรับน้ำสลัดแครอท ในระดับมากที่สุด โดยด้านรสชาติ ได้รับการยอมรับมากที่สุด ( = 4.52)    รองลงมาคือ ด้านความชอบรวม ( = 4.48) ด้านเนื้อสัมผัส ( =4.44) ด้านสี ( = 4.32)  และด้านกลิ่น ( = 4.24) ตามลำดับ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปให้บริการลูกค้าที่บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของโรงแรมได้

Article Details

How to Cite
่Jhongkolnee waewdao. (2022). น้ำสลัดแครอทเพื่อสุขภาพ ของโรงแรมอมารี หัวหิน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(3), 75–81. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/252858
บท
Articles

References

เอกสารอ้างอิง

[1] กัญญา บำรุงคีรี และคณะ. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำสลัดเสริมเยื่อแก้วมังกรเพื่อสุขภาพ. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
[2] กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[3] กาญจนา จันทร์สิงห์. (2563). แครอท (Carrot). [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 13 กุมภาพันธ์ 2564.
จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/
[4] เจอเนอร์ ราลี่. (2564). การปรุงอาหารแบบ Zero-waste. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 15 กุมภาพันธ์ 2564.
จาก https://generali.co.th/genhealthylife/what-is-zero-waste-cooking/.

[5] ไทยรัฐออนไลน์. (2564). Zero Food Waste Kitchen: ขยะเป็น ‘ศูนย์’ ง่ายๆ เริ่มได้ในครัว. [ออนไลน์].วันที่ค้น ข้อมูล 13 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2093497
[6] บุศราภา ลีละวัฒน์ และไตรรัตน์ แก้วสะอาด. (2561). การพัฒนาน้ำสลัดไขมันต่ำเสริมแป้งข้าวก่ำ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 28 ฉบับที่ 5 พฤษภาคม 2563 : 775-789.
[7] ปราณี อ่านเปรื่อง. (2557). หลักการวิเคราะห์อาหารด้วยประสาทสัมผัส. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
[8] พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. (2547). น้ำสลัด น้ำปรุงรส หรือซอส. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 14 กุมภาพันธ์ 2564. จาก http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1380/salad-dressing.
[9] เพ็ญศิริ คงสิทธิ์. (2560).ปริมาณฟักข้าวที่เหมาะสมในการทำน้ำสลัดชนิดข้น. วารสารเกษตร 33 (1): 153 - 161 (2560)
[10] มนัสสินี ศุงศุมาร. (2560). สรรพคุณและประโยชน์ของแครอท. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 14 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://medthai.com/.
[11] โรงแรมอมารี หัวหิน. (2563). ข้อมูลโรงแรม. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 13 กุมภาพันธ์ 2564.
จาก https://th.amari.com/huahin.
[12] ละเอียด ศิลาน้อย และ กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. (2562). การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม และการท่องเที่ยว. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี ปีที่ 8 ฉบับที่ 15 มกราคม-มิถุนายน : 112-126.
[13] วรพรรณ ฉิ่งเล็ก. (2563). น้ำสลัดจากเสาวรสเหลือใช้. รายงานการวิจัย คณะอุตสาหกรรมการโรงแรมและการ ท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
[14] แววดาว จงกลนี. (2563). การประกอบอาหารตะวันตก. คณะอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
[15] ศุภมาศ กลิ่นขจร และคณะ. (2558). การผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากน้ำมังคุด. วารสารวิชาการเกษตร ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2558 : 190-204.
[16] ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน. (2562). 10 เทรนด์ อาหารมาแรงในสหรัฐ ปี 2562. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 13 กุมภาพันธ์ 2564. จากhttp://www.aseanthai.net/mobile_detail.php?cid=4&nid=9032
[17] อนันต์ สุรศรี. (2562). คุณค่าทางโภชนาการของแครอท. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 14 กุมภาพันธ์ 2564.
จาก https://www.laservisionthai.com/health-corner/