การศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

สิวราช อินต๊ะวิชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดราชบุรี 2)ศึกษาแนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดราชบุรี การวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods) เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 480 คน ผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ระดับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดราชุรี พบว่า อยู่ในระดับมาก (3.97) และความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้กับความคิดสร้างสรรค์ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดราชบุรีมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  2. แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดราชบุรี ได้แก่ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านกายภาพที่มีอย่างเพียงพออยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนมีบรรยากาศที่เป็นกันเองและการสื่อสารที่เป็นมิตร และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านการมีส่วนร่วมของผู้เรียน มีหลักการที่ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ และการเปิดโอกาสในการเลือกของผู้เรียน

Article Details

บท
Articles

References

[1] ไพฑูรย์ สินลารัตน์. การเสวนา เรื่อง "การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. [อินเทอร์เน็ตต]. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560[เข้าถึงเมื่อ 12 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.youtube.com/watch?v=alylNzASFzI
[2] เนาวนิตย์ สงคราม. การสร้างนวัตกรรม : เปลี่ยนผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556
[3] ฉันทนา ปาปัดถา และณมน จีรังสุวรรณ. สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนในการศึกษาสร้างสรรค์. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.
พระนคร 2556;2:160.154-167
[4] สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2560 – 2563) ฉบับทบทวน. ราชบุรี: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8;2561
[5] Richardson C. and Mishra P. (2017). SCALE: Support of Creativity in a Learning Environment. [Internet]. 2017 [cited 2018 December 28]. Available from:http://www.punyamishra.com/wp-content/uploads/2018/02/SCALE-Evaulating-Creative-Learning-Environments-2017.pdf
[6] Williams F. E. Creative Assessment Packet. Shoal Creek Boulevard Austin: Pro-Ed; 1980.
[7] Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement 1970;30: 607-610.
[8] ประภัสสร ทิพย์สงเคราะห์. การออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในห้องกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
[9] เบญญาภา หลวงราช. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2560.
[10] ดวงรัตน์ บุญวัน. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี; 2552.