ปัจจัยลักษณะงาน และปัจจัยประสบการณ์ในการทำงาน ผ่านคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของนายทหารชั้นประทวน สังกัดกรมแผนที่ทหาร

ผู้แต่ง

  • อาทิตย์ แก้วมุงคุณ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • กฤษฎา มูฮัมหมัด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

DOI:

https://doi.org/10.60101/rmuttgber.2024.277409

คำสำคัญ:

ปัจจัยลักษณะงาน, ปัจจัยประสบการณ์ในการทำงาน, คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะงาน และปัจจัยประสบการณ์ในการทำงานผ่านคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของนายทหารชั้นประทวน สังกัดกรมแผนที่ทหาร ประชากรคือ นายทหารชั้นประทวน สังกัดกรมแผนที่ทหาร จำนวน 436 คน โดยเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 205 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำแนกออกเป็น 16 สายงาน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ แบบจำลองสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่าแบบจำลองสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square เท่ากับ 220.376 และค่า Normed Chi-square เท่ากับ 1.985 ค่า RMR เท่ากับ 0.008 ค่า RMSEA มีค่าเท่ากับ 0.049 ค่า GFI เท่ากับ 0.952 ค่า AGFI เท่ากับ 0.910 ค่า NFI เท่ากับ 0.968 และค่า CFI เท่ากับ 0.984 โดยปัจจัยประสบการณ์ในการทำงาน และปัจจัยลักษณะงานมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความผูกพันต่อองค์การของนายทหารชั้นประทวน สังกัดกรมแผนที่ทหาร มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.35 และ 0.08 ตามลำดับ และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และปัจจัยประสบการณ์ในการทำงาน และปัจจัยลักษณะงาน มีอิทธิพลทางอ้อม ผ่านคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.44 และ -0.07 ตามลำดับ และมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 70

References

กองกำลังพล กรมแผนที่ทหาร. (2564). ประวัติกรมแผนที่ทหาร. http://www.rtsd.mi.th/main/องค์กร/ประวัติ/

กัลยา วานิชย์บัญชา และ ฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. สามลดา.

นพเดช แป้นศรี. (2544). ความพึงพอใจในการทำงานของนายทหารชั้นประทวนในสังกัดกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พนิดา อร่ามจรัส. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานในกลุ่มบริษัทโทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.

เพ็ญนภา วงศ์นิติกร. (2558). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, กรุงเทพ.

รัตนชัย สลับศรี. (2557). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจนครบาลบางเขน. มหาวิทยาลัยเกริก.

ลลิตา จันทร์งาม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่กลุ่มลูกค้าบุคคล [Unpublished Master’s thesis]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุชาพร ประเสริฐชาติ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 [Unpublished Master’s thesis]. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2551). เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: หลักการ วิธีการและการประยุกต์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สามลดา.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). London: Pearson Education Limited.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.

Linjuan, R. M. (2015). Organizational trust with employee engagement: The role of psychological empowerment [Master's thesis, Universitat Jaume I].

Saks, A. M. (2006). Antecedents and consequences of employee engagement. Journal of Managerial Psychology, 21(7), 600–616.

Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), 46-56.

Steers, R. M. (1991). Introduction to Organization Behavior. New York : Harper Collin Publishers Inc.

Walton, R. E. (1975). Criteria for quality of working life. In L. E. Davis & A. B. Cherns (Eds.), The Quality of Working Life. New York: Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-13

How to Cite

แก้วมุงคุณ อ.; มูฮัมหมัด ก. ปัจจัยลักษณะงาน และปัจจัยประสบการณ์ในการทำงาน ผ่านคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของนายทหารชั้นประทวน สังกัดกรมแผนที่ทหาร. RMUTT Global Business and Economics Review, Pathum Thani, Thailand, v. 19, n. 2, p. 111–126, 2024. DOI: 10.60101/rmuttgber.2024.277409. Disponível em: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/277409. Acesso em: 5 พ.ค. 2025.

ฉบับ

บท

บทความวิจัย