การจัดการความรู้เพื่อฝ่าวิกฤติการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกระบวนการ PEER TO PEER (P2P) LEARNING
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, การจัดการความรู้, ไวรัสโคโรนา 2019, การเรียนรู้แบบเพื่อนสอนเพื่อนบทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกระบวนการ Peer to Peer (P2P) Learning เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติในการรับมือเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลเป็นบุคลากรสายสนับสนุนของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ที่ปฏิบัติงานในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 จำนวน 170 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบคุณภาพข้อมูลด้วยการคืนข้อมูลย้อนกลับไปยังหน่วยงาน ผลการวิจัย รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกระบวนการ Peer to Peer (P2P) Learning เป็นการจัดการความรู้ในองค์กรโดยใช้โมเดลเซกิด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสกัดความรู้ออกจากตัวคน การควบรวมความรู้ และการผนึกฝังความรู้ มี 6 ขั้นตอน 1) สื่อสาร 2) เป้าหมาย 3) แลกเปลี่ยน 4) เติมเต็มข้อมูล 5) จัดเก็บ 6) การนำไปใช้ และ 5 องค์ประกอบที่ช่วยสนับสนุน คือ 1) คน 2) เทคโนโลยี 3) สภาพแวดล้อม 4) ปัจจัยสนับสนุน 5) เรื่องที่จะเรียนรู้ การจะทำให้เกิดเกลียวความรู้อย่างต่อเนื่องต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์อันดีจากการทำงานร่วมกัน และความเชื่อมั่นในศักยภาพของบุคลากรที่สามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกัน จึงเป็นการบูรณาการหน่วยงานต่าง ๆ ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวในการแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานของการนำองค์ความรู้กับวิชาชีพที่เกี่ยวข้องสู่การปฏิบัติ
References
กัตติกา ศรีมหาวโร. (2555). การใช้ระบบการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4 : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านสระบัว. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).
จริยา ปันทวังกูร และกิตติศักดิ์ ดียา. (2563) การจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 289-303.
บดินทร์ วิจารณ์. (2550). การจัดการความรู้สู่ปัญญาปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
บูรชัย ศิริมหาสาคร และพัดชา กวางทอง. (2552). สรรพวิธีจัดการความรู้สู่องค์กรอัจฉริยะ. กรุงเทพ: แสงดาว.
ประพรรธน์ พละชีวะ, อังคนา กรัณยาธิกุล, ดนุชา สลีวงศ์ และเลอลักษณ์ โอทกานนท์. (2560). การใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนร่วมกันเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 246-258.
ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ.(2552). การเรียนรู้รมวมกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้รมวมกัน. วารสารครุศาสตร์, 37(3), 150-164.
พยัต วุฒิรงค์. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ภายในองค์การ. วารสารบริหารธุรกิจ, 30(116), 43-56.
พัชรา โพธิ์ไพฑูรย์ และพสุ เดชะรินทร์ (2564). การทำงานจากที่บ้านในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทย: ประโยชน์และความท้าทาย. วารสารบริหารธุรกิจ JBA, 44(169), 56-79.
รุ่งรดิศ คงยั่งยืน. (2564). การแบ่งปันความรู้. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 7(2), 81-91.
วนิดา ธนากรกุล, ศลิษา ธาระสวัสดิ์, ธนะเมศฐ์ เชาว์จินดารัชต, กัญญาภัค เงินอินต๊ะ และวรยา ร้ายศรี. (2561). รูปแบบการถ่ายทอดความรู้สำคัญยิ่งยวดภายในและภายนอกศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกผ่านนิทรรศการ. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 5(1), 17-29.
วิจารณ์ พานิช. (2551). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพ: สุขภาพใจ.
วิจารณ์ พานิช. (2559). ขอบฟ้าใหม่ในการจัดการความรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
วิภาดา เวชประสิทธิ์. (2563). การจัดการความรู้ (Knowledge Management). สืบค้นจาก http://hsmi2.psu.ac.th/upload/forum/Phd_ Wiphada_slide.pdf
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). เอกสารประกอบการฝึกอบรม “คุณภาพผู้เรียน.......เกิดจากกระบวนการเรียนรู้”. วันที่ 3 ธันวาคม 2558 ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร, มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว: สระแก้ว.
สมชาย นำประเสริฐชัย. (2558). การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สายสุดา ปั้นตระกูล. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนของผู้เรียนที่มีความปกพร่องทางการได้ยินและผู้เรียนปกติ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 38(2), 35-48.
Choudhury, P. (2020). Our work-from-anywhere future. Harvard Business Review, 98(6),58-67.
Giordana, S. & Wedin, B. (2010). Peer mentoring for multiple levels of nursing students. Nurs Edu Perspect, 31(6), 394-396.
Horne, C. V., Frayret, J. M., & Poulin, D. (2005). Knowledge management in the forest productsindustry: The role of centres of expertise. Computer and Electronics in Agriculture, 47, 167–184.
Jianhua, Z., Kedong, L., & Akahori, K. (2001). Modeling and System Design for Web-Based Collaborative Learning. Retrieved from https://www.researchgate.net publication/228917718
Lehtinen, E. (2000). Computer supported collaborative learning: A review. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/250788384
Nilufar, Antonija & Warwick (2007) Supporting collaborative learning and problem-solving in a constraint-based CSCL environment for UML class diagrams. Computer-Supported Collaborative Learning, (2), 159–190.
Nonaka, I., & Takeuchi, H. (1995). The knowledge creating company: how Japanese companies create the dynamics of innovation. New York: Oxford University.
Sallis, E., & Jones, G. (2002). Knowledge management in education. London: Kogan Page.
Williams, B., & Reddy, P. (2016). Does peer-assisted learning improve academic performance?. A scoping review, 42, 23-29.
World Bank. (2002). What is Corporate Governance. Retrieved from http:// Encycogov.com./ atlsGorpGov. Asp
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ธนะเมศฐ์ เชาว์จินดารัชต์, มาศโมฬี จิตวิริยธรรม, วนิดา ธนากรกุล, พรรณพัชร กองชัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว