การพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบอาชีพจัดส่งเอกสารและสิ่งของด่วนภายในประเทศและระหว่างประเทศของธุรกิจจัดส่งพัสดุในยุคดิจิทัล
คำสำคัญ:
การพัฒนาสมรรถนะ , การขนส่ง , พัสดุด่วน , ผู้ประกอบอาชีพบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากลุ่มสาขาอาชีพจัดส่งเอกสารและพัสดุด่วนภายในประเทศและระหว่างประเทศที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการและเป็นที่ยอมรับในทุกภาคส่วนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศสู่ระดับสากล และสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านสาขาโลจิสติกส์ให้ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการเป็นผู้ประกอบในยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้และความเชี่ยวชาญผู้ที่อยู่ในอาชีพการจัดส่งพัสดุด่วนในยุดดิจิทัลและเพื่อจัดทำเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบอาชีพการจัดส่งพัสดุด่วนยุคดิจิทัล การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากคั้นคว้าจากเอกสาร การสาธิตการปฏิบัติงาน การเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตพฤติกรรม และการปฏิบัติงานจริงจากแฟ้มสะสมแสดงผลงาน จากผู้ประกอบอาชีพและสมาคมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการส่งออก และนำเข้า โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์หน้าที่ จัดทำแผนภาพหน้าที่งาน ประกอบด้วยความมุ่งหมายหลัก บทบาทหลัก หน้าที่หลัก จัดทำหน่วยสมรรถนะ ประกอบด้วยสมรรถนะย่อย และกำหนดกณฑ์การปฏิบัติงาน ขอบเขตงาน และ Evidence requirement เพื่อแสดงเป็นหลักฐานที่ของการปฏิบัติงานและความรู้ในอาชีพ แนวทางการประเมิน (Assessment guidance) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการกำหนดเป็นมาตรฐานอาชีพและระดับคุณวุฒิวิชาชีพ ผลการศึกษาพบว่า มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสาขาโลจิสติกส์ สายงานงานจัดการส่งออกเอกสารและพัสดุด่วน ประกอบด้วย 5 หน้าที่หลัก 13 หน่วยสมรรถนะ และ 46 หน่วยสมรรถนะย่อย แบ่งเป็น 3 ระดับคุณวุฒิ งานจัดการนำเข้าเอกสารและพัสดุด่วน ประกอบด้วย 2 หน้าที่หลัก 6 หน่วยสมรรถนะและ 18 หน่วยสมรรถนะย่อย แบ่งเป็น 2 ระดับคุณวุฒิ และสายงานบริหารงานส่งออกและนำเข้า ประกอบด้วย 4 หน้าที่หลัก 10 หน่วยสมรรถนะ และ 28 หน่วยสมรรถนะย่อย แบ่งเป็น 2 ระดับคุณวุฒิ
References
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทย ประจำปี 2563. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11803
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่องการเปิดเสรีโลจิสติกส์อาเซียน: โอกาสผลกระทบและการปรับตัวของผู้ประกอบการไทย. กรุงเทพฯ: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศร่วมกับสถาบันนานาชาติเพื่อเอเชียแปซิฟิกศึกษา.
กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ สศช. (2564). ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สองของปี 2564 และแนวโน้ม. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
ธริรี มณีศรี. (2563). สถานการณ์ความท้าทายของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยในยุค. สืบค้นจาก http://dspace.spu.ac.th/bitstream/123456789/6349/1/TTLAoutlook.pdf
นิวรัตน์ วิจิตรกุลสวัสดิ. (2561). กลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์ 4.0 กับการปรับตัวของผู้ประกอบการไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 30(106). 28-36.
วัชระ วัธนารวี และ ภูมิพัฒณ์ มิ่งมาลัยรักษ์. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ของธุรกิจการค้าข้ามแดนเชียงราย. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2559). มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ. สืบค้นจาก https://www.tpqi.go.th/th/qualification
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2560). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนานาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ พ.ศ.2556-2560 ของกระทรวงคมนาคม. กรุงเทพฯ: สำนักแผนงานกลุ่มโลจิสติกส์การขนส่ง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Madaoh Sulong, Apisit Tungkiatsilp, Naruemon Jituea

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว