การพัฒนาองค์การด้านความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ:
การพัฒนาองค์การ, ด้านความมั่นคง, การก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การพัฒนาองค์การด้านความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงระบบการบริหารจัดการองค์การ กลยุทธ์การบริหารจัดการ และจุดอ่อน จุดแข็ง ตลอดจนการนำเสนอแนวทางเชิงนโยบายในการพัฒนาองค์การความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods Research) ด้วยการตรวจสอบเอกสาร แจกแบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกโดยวิธีเจาะจง แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหารระดับสูงในภาครัฐ ผู้ปฏิบัติงาน และนักวิชาการ รวมถึงผู้รู้ในเรื่องนี้ดีซึ่งเป็นคนในพื้นที่ รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 412 คน ข้อมูลที่ได้มาประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป แล้วสรุปรายงานด้วยการวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่าการพัฒนาองค์การด้านความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีแรงจูงใจมาจากปัญหาการบริหารงานบุคคล เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาไม่นาน ยังขาดการเตรียมการด้านการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น การวางแผนอัตรากำลังคนยังต้องมาจากส่วน กลาง ซึ่งไม่สอดคล้องกับปริมาณงาน ตลอดจนรูปแบบขององค์การ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาบุคลากรยังมุ่งเน้นไปที่ข้าราชการระดับสูงมากกว่าข้าราชการระดับต้น สำหรับการบรรจุ แต่งตั้ง การปรับเลื่อนตำแหน่ง และการโยกย้ายข้าราชการ ยังคงอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ จากข้อค้นพบข้างต้น ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาแผนกลยุทธ์ขององค์การให้สอดคล้องกับความเป็นปัจจุบันมากที่สุด ควรแบ่งแยกภารกิจอย่างชัดเจน และเน้นความร่วมมือกันทั้งองค์การ ควรเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ระดับต้น และระดับกลาง มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาบุคคลตามหลักสมรรถนะ ควรใช้วิธีการระดมสมองเพื่อวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันก่อนจะตกลงใจสั่งการโดยเน้นให้มีผู้รับผิดชอบเพียงคนเดียว ควรจัดในรูปคณะกรรมการประสานงานและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการติดต่อ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกฝ่ายตลอดเวลา รวมทั้งฝึกเจ้าหน้าที่ให้สามารถฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษายาวีได้ ควรมอบหมายการเสนอรายงานให้เจ้าหน้าที่ระดับรองในบางเรื่องอย่างชัดเจน และควรทำแผนการบริหารงบประมาณอย่างต่อเนื่องในรูปคณะกรรมการ เพื่อให้ส่วนกลางจัดสรรงบประมาณที่สามารถปรับเปลี่ยนรายการได้โดยอิสระไม่ต้องขออนุมัติก่อน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว