การตัดสินใจเลือกอาชีพ แรงจูงใจ และความก้าวหน้าในอาชีพพริตตี้เอ็มซี
คำสำคัญ:
การตัดสินใจ, แรงจูงใจ, การเลือกอาชีพ, พริตตี เอ็มซีบทคัดย่อ
การวิจัยนี เป็นวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพ พริตตี เอ็มซี 2) ศึกษาแรงจูงใจในการประกอบอาชีพ และความก้าวหน้าในอาชีพพริตตี เอ็มซี และ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรดังกล่าว และ 3) ศึกษาแนวโน้มการประกอบอาชีพในอนาคตของผู้ประกอบอาชีพพริตตี เอ็มซี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นแบบศึกษาเฉพาะกรณี สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบอาชีพพริตตี เอ็มซี โดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience sampling) จำนวน 323 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพพริตตี เอ็มซี คือความสามารถ และ แรงจูงใจในการประกอบอาชีพ คือความต้องการขั้นพื้นฐาน ส่วนความก้าวหน้าในอาชีพพริตตี เอ็มซี ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพมากกว่าการวางแผนอาชีพ ส่วนเรื่องการตัดสินใจและแรงจูงใจในการประกอบ อาชีพพริตตี เอ็มซีมีความสัมพันธ์ กับความก้าวหน้าในอาชีพพริตตี เอ็มซีในทางบวก ในส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าผู้ให้ข้อมูลหลักตัดสินใจประกอบอาชีพพริตตี เอ็มซี เนื่องจากความชอบและความสนใจเป็นการส่วนตัว และผู้ประกอบอาชีพมีความสามารถด้านการพูดและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยแรงจูงใจในการท้างานที่สำคัญ คือ ค่าตอบแทนค่อนข้างสูงมาก แต่ใช้ระยะเวลาในการทำงานสั้น สำหรับแนวโน้มการประกอบอาชีพในอนาคต ผู้ให้ข้อมูลหลักต้องการเป็นเจ้าของกิจการเปิดบริษัทรับจัดกิจกรรมต่างๆ
References
จำเนียร จวงตระกูล. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ชัยยุทธ เลาหชนะกูร. (2546). พริตตี้เกิร์ล: ทางลัดสายดวงดาวสู่มืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ตากสิน.
ธานินทร์ จารุศิลป์. (2555). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั งที่13). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ประณต นันทิยะกุล. (2535). การถ่ายเทแรงงานที่มีความรู้และทักษะสูงจากรัฐวิสาหกิจสู่ภาคเอกชน ในช่วงปี พ.ศ.2528-2532. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
วรวลัญช์ ค้าเพิ่ม. (2552). การเลือก “พริตตี้”เพื่อเป็นผู้นำเสนอสินค้าของธุรกิจสินค้าในประเทศไทย. (งานค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
Ginzberg, et al. (1967). Occupational choice: An approach to a general theory (2nd ed.). New York: Columbia University.
Herzberg, F. (1995). The motivation and work. New York: John Wiley and Sons.
Hinkle, D.E, William, W., & Stephen, G. J. (1998). Applied statistics for the behavior sciences (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.
Holland, J. L. (1973). The psychology of vocational choice. [n.p.]: Blasisdell Publishing.
Jump, N. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York: McGraw Hill.
Maslow, A. (1970). Motivation and personnality. New York: Harper and Row.
Roe, A. (1957). Early determinants of vocational choice. Journal of Counseling Psychology, 4(3), 212- 217.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว