ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมเขตเศรษฐกิจชายแดน กรณีศึกษาอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ธนา จงสิทธิผล สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนยก์รุงเทพฯ
  • เสรี วงษ์มณฑา สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนยก์รุงเทพฯ

คำสำคัญ:

การค้าชายแดน, เขตเศรษฐกิจ, เชียงของ, กลยุทธ์ทางเศรษฐกิจ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่รูปแบบการค้าชายแดน กฎระเบียบ ตลอดจนนโยบาย และการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน เพื่อประเมินสถานภาพและศักยภาพของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนายุทธศาสตร์ทาง เศรษฐกิจ ทั้งปัจจัยที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนา ตลอดจนปัญหา อุปสรรคในการส่งเสริมเขต เศรษฐกิจชายแดน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อสำรวจความคิดเห็น ความต้องการและทัศนคติ ของผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อนโยบายและทิศทาง เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมเขตเศรษฐกิจชายแดน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมเขตเศรษฐกิจชายแดน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก (in-depth interview) เพื่อสำรวจความคิดเห็นในลักษณะเสียงสะท้อนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) ที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดน โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแบ่งออกเป็นส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญการค้าระหว่างประเทศ นักวิชาการธุรกิจระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และผู้ประกอบการในพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ผลการศึกษาพบว่า ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนอำเภอเชียงของ คือ "THAILANDBORDER" ประกอบด้วย 14 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ T: Tourism การส่งเสริมการ ท่องเที่ยว H: Hub of Industries การเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรม A: Agriculture การพัฒนาการ เกษตรกรรม I: Integration of Public Sector การบูรณาการการท างานของภาครัฐ L: Logistics and Communications การขนส่งและการคมนาคม A: Authority การพัฒนาการท างานของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ N: Networking การสร้างเครือข่าย D: Development of Population การพัฒนาประชากรในพื้นที่ B: Borderless Management การบริหารจัดการไร้พรมแดน O: Operational Excellence ความเป็นเลิศทางการปฏิบัติการ R: Regulations การมีกฎระเบียบที่มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ D: Destination Management การจัดการพื้นที่เป็นพื้นที่เป้าหมายการท่องเที่ยวและการลงทุน E: Environmental Sustainability ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และ R: Regional Mindset สำเหนียกแห่งภูมิภาค สร้างความร่วมมือร่วมใจของผู้คนในพื้นที่มุ่งพัฒนาสู่ความสำเร็จ

References

ชัยพงษ์ สำเนียง. (2555). How to..เปลี่ยนเมืองเชียงของให้เป็นเมืองเศรษฐกิจชายแดนของไทย?. สืบค้น จาก www.siamintelligence.com/transform-trade-border-city-in-chiang-rai

พนิดา วิไลวงศ์. (2553). แนวทางในการพัฒนาผู้ประกอบการด้านการค้าชายแดนในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง).

ศูนย์ส่งเสริมการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว. (2555). 2557 ปีทองการค้าชายแดนโอกาสการค้าการลงทุนรับ เออีซี. สืบค้นจาก www.moc.go.th/opscenter/md/?p=1074

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2555). ข่าวทำเนียบรัฐบาล. สืบค้นจาก http://www.thaigov.go.th/th/government-th1/item/87633-id87633.html

Anderson, J. & O'Dowd, L. (1999). Borders, border regions and territoriality: Contradictory meanings, changing significance. Regional Studies, 33(7), 593-604.

Chompunuch Jittithavorn. (2006). Thailand and leisure oriented cross-border mobility: Constraints and permeability. (Doctoral dissertation, University of Otago, Dunedin).

Ohlin, H. (1967). Interregional and international trade. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Macpherson, A.D., & McConnell, J.E. (2007). A survey of cross-border trade at a time of heightened security: The case of the niagara bi-national region. American Review of Canadian Studies, 3(37), 301-321.

Mauyo, L.W., Chianu, J.N., Nassiuma, B.K. & Musebe, R.O. (2010, December). Cross-border bean market performance in Western Kenya and Eastern Uganda. Service Science & Management, 3(4), 501-511.

Niebuhr, A., & Stiller, S. (2001, September). Integration effects in border regions: A survey of economic theory and empirical studies. Retrieved from http://ageconsearch.umn.edu/bitstream/26340/1/dp020179.pdf

OECD. (2012, March). OECD economic surveys european union overview. Retrieved from http://www.oecd.org/eco/49950244.pdf

Porter, M. E. (1990). The Competitive advantage of nations. New York: Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-06-30

How to Cite

จงสิทธิผล ธ.; วงษ์มณฑา เ. ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมเขตเศรษฐกิจชายแดน กรณีศึกษาอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. RMUTT Global Business and Economics Review, Pathum Thani, Thailand, v. 10, n. 1, p. 73–90, 2015. Disponível em: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/242033. Acesso em: 30 มิ.ย. 2024.