รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถาบัน-การพลศึกษา
คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์, ผู้บริหารสถาบัน-การพลศึกษา, เทคนิคเดลฟายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ผู้บริหาร สถาบัน-การพลศึกษา 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถาบัน-การพลศึกษา 3) ศึกษาความเป็นไปได้ของการนำรูปแบบการพัฒนามาใช้ในการบริหารจัดการสถาบัน-การพลศึกษา โดยมีการดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสำรวจข้อมูลเบื้องต้น 2) สร้างและทดลองใช้เครื่องมือ 3) วิเคราะห์ และพัฒนาเครื่องมือโดยการใช้เทคนิคเดลฟาย 4) วิเคราะห์ยืนยันองค์ประกอบยืนยันเชิงประจักษ์ 5) ตรวจสอบความเป็นไปได้และความเหมาะสมของการนำไปใช้ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถาบัน-การพลศึกษามี 6 ด้าน คือ 1) ด้านทักษะความรู้ความสามารถในการบริหารสถานศึกษาวิชาการและในศาสตร์สาขาวิชาชีพ พลศึกษา 2) ด้านความสามารถในการประสานความสัมพันธ์ในองค์การ 3) ด้านการมีกระบวนทัศน์ในการบริหารที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์และความเหมาะสม 4) ด้านการมีความซื่อสัตย์สุจริตในหน้าที่มีคุณธรรมและจริยธรรม 5) ด้านความสนใจและใส่ใจในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ และ 6) ด้านบุคลิกภาพและความสง่างามและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลทั่วไป ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างคุณลักษณะที่พึงประสงค์กับข้อมูลเชิงประจักษ์จากกลุ่มผู้บริหารและอาจารย์ประจ าที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถาบัน-การพลศึกษายืนยันความสอดคล้อง และพบว่า ความเป็นไปได้ในการนำคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถาบัน-การพลศึกษามาใช้โดยการทำสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิและประเมินค่าความเที่ยงของเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลผู้เข้ารับการอบรม ซึ่งจากข้อมูลที่ปรากฏสรุปได้ว่าความเป็นไปไดในการนำคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถาบัน-การพลศึกษามาใช้ในการฝึกอบรมผู้บริหารสถาบัน-การพลศึกษาในอนาคตต่อไป
References
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2549). ภาวะผู้นำองค์กรยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ถวิล อรัญเวส. (2544, กุมภาพันธ์). นักบริหารมืออาชีพในยุคเขตพื้นที่การศึกษา. วารสารวิชาการ. 4(2): 17-18.
วิทเวช วงษ์เพม. (2555). การวิเคราะห์ยืนยันองค์ประกอบโดยโปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์. อ่างทอง: สถาบันการพลศึกษา.
สถาบัน-การพลศึกษา, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2552). เอกสารประชาสัมพันธ์สถาบันการพลศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานรองอธิการบดี.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2543, มิถุนายน). สู่มิติการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. วารสารวิชาการ. 3(6): 70-74.
อรุณ รักธรรม. (2527). หลักมนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Barnes, L., & Kriger, M. (1986). The hidden side of organizational leadership. Sloan Management Review, 28(1), 15-25.
Boles, K., & Troen, V. (1992). How teachers make instructuring happen. Education Leadership. 49(5), 53-56.
Burns, J. (1978). Leadership. New York: Harper & Row.
Hoy, W., & Miskel, C. (1987). Theory, research and practice (3rd ed.). New York: Random House.
Luther, G., & Lyndall U. (1936). Papers on the science of administration. Retrieved from http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2064.0
Manasse, A. (1986). Vision and leadership: Paying attention to intention. Peabody Journal of Education, 63(1), 150-173.
Robert, K., & Daryle M. (1970) Determining Sample Size for research activities. The NEA Research Bulletin, 38(9): 30.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว