การประยุกต์ใช้มาตรฐานการตรวจสอบภายในที่มีผลตอ่ประสิทธิผล การบริหารความเสี่ยงของธุรกิจที่ได้รับการสง่เสริมการลงทุน
คำสำคัญ:
มาตรฐานการตรวจสอบภายใน, บริหารความเสี่ยง, ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลของธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนด้านการประยุกต์ใช้ มาตรฐานการตรวจสอบภายในที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารความเสี่ยงและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การประยุกต์ใช้มาตรฐานการตรวจสอบภายในกับประสิทธิผลการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 380 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Samples t-test, F-test (One-way ANOVA), Pearson Correlation Analysis และ Multiple Regression Analysis ผลการศึกษา พบว่า ทุนจดทะเบียนที่ใช้ในการประกอบกิจการและจำนวนพนักงานมีผลต่อประสิทธิผลการบริหารความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ประเภทของธุรกิจ มูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้นในปัจจุบันมีผลต่อประสิทธิผลการบริหารความเสี่ยงด้านการเงิน ด้านการดำเนินงาน และด้านการควบคุมยอดรายได้สุทธิต่อปี มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน และระยะเวลาในการดำเนินงานของธุรกิจมีผลต่อประสิทธิผลการบริหารความเสี่ยงด้านการเงิน ผลการทดสอบสมมติฐานการประยุกต์ใช้มาตรฐานการตรวจสอบภายในโดยภาพรวมด้วยวิธีการพยากรณ์พบว่ามีผลต่อระดับความสำคัญของประสิทธิผลการบริหาร ความเสี่ยงในด้านกลยุทธ์ ด้านการเงิน และด้านการดำเนินงาน ผลการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า การประยุกต์ใช้มาตรฐานการตรวจสอบภายในมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารความเสี่ยงทุกด้าน โดยความเสี่ยงด้านกลยุทธ์มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง และมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน ความเสี่ยงด้านการเงิน ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน และความเสี่ยงด้านการควบคุม มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำและมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน
References
กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2550). การบริหารจัดการความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
จันทนา สาขากร และคณะ. (2550). การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็นเพรส.
ณัฐวงศ์ พูนผล. (2545). ความรู้มาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544 ของผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการระดับกระทรวง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ดวงดาว วงษ์พระลับ. (2542). การศึกษาผลกระทบของการตรวจสอบภายในในการบริหารงานคลัง: กรณีศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. (การศึกษาปัญหาพิเศษปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
พรเพ็ญ องอาจวาจา. (2549). ความต้องการพัฒนางานตรวจสอบจากปัญหาที่พบในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในและตรวจสอบการดำเนินงานของผู้ตรวจสอบภายในการท่าเรือแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย. (2547). มาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ: สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย.
อุษณา ภัทรมนตรี. (2545ก). การตรวจสอบและการควบคุมภายในแนวคิดและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อุษณา ภัทรมนตรี. (2552ข). การตรวจสอบภายในสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Larkin, M. J. (2000). The ability of internal auditors to identify ethical dilemmas. Journal of Business Ethics, 23, (4), 401-409.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว