ปัจจัยการปฏิบัติตามแนวคิดลีน
คำสำคัญ:
ลีน, ระบบลีน, การวิเคราะห์ปัจจัย, การปฏิบัติระบบลีนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรวัดระดับของการปฏิบัติตามแนวคิดลีน เริ่มต้นศึกษาจากการ สัมภาษณ์เชิงลึกจากพนักงานระดับผู้จัดการของสถานประกอบการ ผลวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลในการปฏิบัติ ตามแนวคิดลีนมีทั้งหมด 10 ปัจจัยคือ 1) การมีส่วนร่วมของลูกค้า 2) การสื่อสารกับผู้ขาย 3) การส่งมอบตรง เวลาของผู้ขาย 4) การพัฒนาผู้ขาย 5) ระบบดึง 6) การไหลของกระบวนการ 7) การปรับตั้งเครื่อง 8) การควบคุมกระบวนการ 9) การมีส่วนร่วมของพนักงาน 10) การบำรุงรักษาเครื่องจักร ต่อจากนั้นได้ทำการพัฒนาแบบสอบถาม (Questionnaire) มาตรวัด Likert แบบ 5 ระดับ และเพื่อเป็นการยืนยันความถูกต้องของปัจจัย ทั้ง 10 รวมถึงหาปัจจัยแฝง ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory factor analysis: EFA) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญ (Principal component analysis) ผลการสกัดปัจจัย (Extraction) ได้ 10 ปัจจัยในการปฏิบัติ และปัจจัยแฝง 3 ปัจจัย ที่อยู่ระหว่างปัจจัยการปฏิบัติและ แนวความคิดลีน คือ 1) การบริหารความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก 2) การบริหารความเสี่ยงจากกระบวนการ และ 3) การบริหารความเสี่ยงจากเครื่องจักร ซึ่งสามารถยืนยันได้ว่า ปัจจัยเหล่านั้นสามารถใช้เป็นตัวแทนการปฏิบัติตามแนวคิดลีนได้เป็นอย่างดี
References
เกียรติขจร โฆมานะสิน. (2550). Lean: วิถีแห่งการสร้างคุณค่าสู่องค์กรที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันยานยนต์ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ (2557). ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ 1st-Tier of Car. สืบค้นจาก http://data.thaiauto.or.th/iu3/modules/mod_partmaker/ExecutePart3.asp
Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis. Hillsdale, New Jersey: Erlbaum Associate.
Hall, R. W. (2004). “Lean” and the Toyota Production System. Target, 20(3), 22-27.
Hofer, C., Eroglu, C., & Hofer A. (2012). The effect of lean production on financial performance: The mediating role of inventory leanness. International Journal of Production Economics, 138(2). 242–253.
McLeod, A. A. (2009). An Assessment of Small to Medium Size Manufacturers Practicing Lean Manufacturing in Indiana. (Doctor of Philosophy Dissertation, Purdue University).
Mohanty, R. P., Yadav, O. P., & Jain, R. (2006). Implementation of lean manufacturing principles in auto industry. In 2007 International Conference on “India in The Emerging Global Order” (pp. 1-32). Bhubaneswar, India: Xavier Institute of Management.
Pham, D. T., Pham, P. T. N., & Thomas, A. (2008). Integrated production machines and systems – beyond lean manufacturing. Journal of Manufacturing Technology Management, 19(6), 695–711. doi:10.1108/17410380810888094
Shah, R., & Ward, P. T. (2007). Defining and developing measures of lean production. Journal of Operations Management, 25, 785–805. doi:10.1016/j.jom.2007.01.019
Womack, J. P., Jones, D. T., & Roos, D. (1990). The machine that changed the world. New York: Rawson and Associate.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว