การพัฒนารูปแบบกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อความได้เปรียบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
คำสำคัญ:
การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์, การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อความได้เปรียบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาของกลุ่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 2) จัดทำแนวโน้มแผนกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงความได้เปรียบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 3) พัฒนาแผนกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงความได้เปรียบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 เป็นการวิจัยเอกสารเพื่อหาองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของรูปแบบกลยุทธ์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อความได้เปรียบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า องค์ประกอบหลักจะประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลลัพธ์ เครือข่าย ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม องค์ประกอบย่อยจะเป็น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก การกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจ รวมถึงเป้าหมายต่างๆ การสรรหาคัดเลือก การฝึกอบรมและพัฒนา การประเมินผล การให้ค่าตอบแทนและรางวัล และการจัดการบุคลากรสัมพันธ์ ตอนที่ 2 ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR เป็นเครื่องมือในการพัฒนา แผนกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อความได้เปรียบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ด้วยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 24 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบกลยุทธ์การจัดการ ทรัพยากรมนุษย์เชิงความได้เปรียบฯ ที่เหมาะสมประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้าที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยและเกณฑ์การประกันคุณภาพและนำไปปฏิบัติได้ แนวปฏิบัติด้านการบริหารทรัพยากรต้องมีลักษณะเป็นเชิงกลยุทธ์ การสร้างเครือข่ายที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ส่งเสริมการสร้างความคิดสร้างสรรค์ผ่านงานวิจัย และการสร้างแรงบันดาลใจต่างๆ ตอนที่ 3 จากการประเมินฉันทามติจากผู้บริหารหรือผู้แทนผู้บริหารจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ Cohen’s Kappa พบว่าแผนกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อความได้เปรียบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ที่สร้างขึ้นเหมาะสมที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเพื่อพัฒนาคุณภาพและเพิ่มผลการประเมินได้อย่างยั่งยืน
References
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116, ตอนที่ 74 ก, 1-23.
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548. (2548, 18 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ที่ 122, ตอนที่ 6 ก, 17-45.
วัชรพงษ์ อินทรวงศ์. (2552). อิทธิพลของวิธีปฏิบัติด้านทรัพยากรมนุษย์ต่อผลการปฏิบัติงานบุคลากรสาย ผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).
วัชระ เวชประสิทธิ์. (2557). ตัวแบบกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันและผลการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎี บัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
วีรภัทร ภัทรกูล. (2549). การพัฒนารูปแบบการวางแผนทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน พ.ศ. ๒๕๕๗. นนทบุรี: หจก. ภาพพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางประชากรในประเทศไทย - สถานการณ์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/temp_social/data/data_02.pdf
สุกฤษฎิ์ ลิมโพธิ์ทอง. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ขององค์กรธุรกิจการผลิตเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
สุรมงคล นิ่มจิตต์. (2557). องค์การศักยภาพสูงและองค์การแห่งความสร้างสรรค์. ICT Silpakorn Journal, 1(1), 115-127.
เสถียร อุสาหะ. (2542). การปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/main2/edu-reform/edu-reform.htm#b2
อรสา ภาววิมล. (2552). การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาส าหรับสถาบันอุดมศึกษาไทยตาม แนวคิดการจัดการความรู้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
Allen, M. R., Adomdza, G. K., & Meyer, M. H. (2015). Managing for innovation: managerial control and employee level outcomes. Journal of Business Research, 68, 371-379.
Amin, M., Wan Ismail, W., Abdul Rasid, S., & Selemani, R. D. (2014). The impact of human resource management practices on performance: evidence from a public university. The TQM Journal, 26(2), 125-142.
Armstrong, M. (2006). Strategic human resource management: a guide to action (3rd ed.). London: Kogan Page.
Barney, J. B., & Wright, P. M. (1998). On becoming a strategic partner: the role of human resource in gaining competitive advantage. Human Resource Management, 37(1), 31-46.
Belcourt, M., & McBey, K. (2010). Strategic human resource planning (4th ed.). Toronto: Nelson Education Ltd.
Chang, S., Gong, Y., & Shum, C. (2011). Promoting innovation in hospitality companies through human resource management practices. International Journal of Hospitality Management, 30, 812-818.
Chen, C.-J., & Huang, J.-W. (2009). Strategic human resource practices and innovation performance - the mediating role of knowledge management capacity. Journal of Business Research, 62, 104-114.
Christensen, R. (2006). Roadmap to strategic hr: turning a great idea into a business reality. New York: AMACOM.
Cramer, D. (1998). Fundamental statistics for social research. New York: Routledge.
De Cenzo, D. A., & Robbin, S. P. (1996). Human resource management. John Wiley & Sons, Inc.
Delaney, J. T., & Huselid, M. A. (1996). The impact of human resource management practices on perceptions of organizational performance. Academy of Management Journal, 39(4), 949-969.
Dyer, J. H., Gregersen, H., & Christensen, C. M. (2009). The Innovator’s DNA. Harvard Business Review. Retrieved from https://hbr.org/2009/12/the-innovatorsdna?cm_sp=Topics-_-Links-_-Read These First
Hitt, M. A., Ireland, R. D., & Hoskisson, R. E. (2007). Strategic management. Mason: Thomson Higher Education.
Huselid, M. A. (1993). The impact of enviromental volatility on human resource planning and stratergic human resource management. Human Resource Planning, 16(3), 35-51.
Huselid, M. A. (1995). The impact of human resource management practices on turnover, productivity, and corporate financial performance. Academy of Management Journal, 38(3), 635-672.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว