รูปแบบการจ้างบริหารจัดการงานด้านทรัพยากรมนุษย์ของสถานประกอบการอุตสาหกรรมในอนาคตกาล

ผู้แต่ง

  • นาถญาดา เก้าประเสริฐ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวทิยาลัยบูรพา
  • บรรพต วิรุณราช วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบรูพา

คำสำคัญ:

รูปแบบการจ้างบริหารจัดการ, การจัดการทรัพยากรมนุษย์, สถานประกอบการอุตสาหกรรมอนาคตกาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจ้างบริหารจัดการงานด้านทรัพยากรมนุษย์ของสถานประกอบการอุตสาหกรรมในอนาคตกาล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยวิธีการสัมภาษณ์มีจำนวน 20 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) เพื่อทำการจัดกลุ่มกิจกรรมงานด้านทรัพยากรมนุษย์ให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจ้างบริหารจัดการงานด้านทรัพยากรมนุษย์ของสถาน ประกอบการอุตสาหกรรมในอนาคตกาล มีจำนวนทั้งสิ้น 25 กิจกรรม ประกอบด้วย (1) การออกแบบและการบริหารจัดการผลประโยชน์ (2) การวิจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ (3) การฝึกอบรมและการพัฒนา (4) ระบบบัญชีเงินเดือน (5) องค์การจัดหางาน (6) การทดสอบก่อนการจ้างงาน (7) การสรรหาคนทำงาน และการคัดเลือก (8) การสำรวจค่าตอบแทนและเงินเดือน (9) การจัดหางานหลังถูกเลิกจ้าง (10) การ เข้าถึงเทคโนโลยี (11) ความพึงพอใจของพนักงาน (12) การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับคู่แข่ง (13) การออกแบบและการพัฒนาองค์การ (14) การมีระบบการจัดการข้อมูลพนักงาน (HRIS/ HRIT) (15) ความพึงพอใจของลูกค้า (16) การวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ (17) การลดต้นทุน (18) ความสุขในการปฏิบัติงาน (19) การมีโปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน (20) การมีระบบการดูแลสุขภาพและ ความปลอดภัย (21) การย้ายไปทำงานต่างประเทศ (22) ความพึงพอใจขององค์กร (23) การลดปัญหาขาดแคลนทรัพยากร (24) การบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบ (25) การมุ่งเน้นสมรรถนะหลักเมื่อทำการจ้างบริหารจัดการงาน (Outsource) ซึ่งกิจกรรมการบริหารจัดการงานด้านทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 25 กิจกรรมนี้ได้ดำเนินการโดยหน่วยงานภายนอกเป็นผู้บริหารจัดการแทนจะก่อให้เกิดการประหยัดโดยขนาด เกิดความเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย สามารถเข้าถึงนวัตกรรมเทคโนโลยี และเข้าถึงความเชี่ยวชาญทักษะเฉพาะด้านส่งผลให้การบริหารจัดการงานด้านทรัพยากรมนุษย์ของสถานประกอบการอุตสาหกรรมในอนาคตกาลมีประสิทธิผล

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). ขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 เปิดมิติใหม่อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0). สืบค้นจาก http://www.industry.go.th/ industry/index.php

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2559). รอบรู้เศรษฐกิจโลก. นนทบุรี: กลุ่มงานให้บริการข้อมูล/คำปรึกษาด้านการค้าระหว่างประเทศ.

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์สำนักโฆษก. (2559). นรม. พร้อมส่งเสริมโครงการ “ซับคอนไทยแลนด์ 2016 (SUBCON THAILAND 2016)” เพื่อ “ปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0”. สืบค้นจาก http://www.thaigov.go.th/index.php/th/government-th1/item

เกษมสันต์ วิลาวรรณ. (2554). เอกสารประกอบการบรรยายกฎหมายแรงงานสำหรับผู้บริหาร. ชลบุรี: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัชชัย พันธุ์เกตุ. (2553). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคการแข่งขัน. สืบค้นจาก http://www.hu.ac.th/ academic/ article/HR/chatchai.htm

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2557). การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2559). พัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางการจัดการอนาคต. สืบค้นจาก http://www.ftpi.or.th/

สมพงษ์ จุ้ยศิริ. (2549). เอกสารการสอนวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขั้นสูง. ชลบุรี: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2557). สวทช. สานต่อความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการศึกษาและวิจัยวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น ผลักดันการร่วมวิจัยในระดับนานาชาติภายใต้โครงการ eAsia. สืบค้นจาก http://www.nstda.or.th/news/19382-aist

Booth, T. (2013). Here, There and everywhere. The economist. Retrieved form http://www.economist.com/ news/special-report/ 21569572-after-decades- sending-work-across-world-companies-are-rethinking-their-offshoring

Business Dictionary. (2012). It’s time to rethink outsourcing. Retrieved from http://www.cioupdate.com/cio-insights/its-time-to-rethink-outsourcing.html

Fisher, G. (2009). Personality uncertainty and logic: Impact on entrepreneurial outcomes. Academy of Management Proceedings, 2009(1), 1-6.

Lawer III, E. E., Ulrich, E. D., Fitz-enz, J., & Madden v, J. C. (2004). Human resources business process outsourcing. San Francisco: Jossey-Bass.

MacMillan, T. T. (1971, May). The Delphi technique. in The Annual Meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development, Monterey, California, 3-5.

McIlvaine, A. R. (2008). Co-sourcing' and more. Retrieved from http://www.hreonline.com/HRE/ view/story.jhtml?id=80237620.

Norman, T. J., Christodoulidou, N., & Rothenberger, M. (2014). Technology outsourcing in human resource activities in hospitality. Journal of Hospitality and Tourism Technology, 5(1), 50-61.

Schwartz, K. D. (2008). HRO innovation: Building blocks to derive full value. Business week research services. Retrieved from http://mediakit.businessweek.com/ Products/. Research_Services/White_Papers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-30

How to Cite

เก้าประเสริฐ น.; วิรุณราช บ. รูปแบบการจ้างบริหารจัดการงานด้านทรัพยากรมนุษย์ของสถานประกอบการอุตสาหกรรมในอนาคตกาล. RMUTT Global Business and Economics Review, Pathum Thani, Thailand, v. 11, n. 2, p. 103–114, 2016. Disponível em: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/241966. Acesso em: 30 มิ.ย. 2024.