ห่วงโซ่อุปทานเครื่องแกงของกลุ่มวิสาหกิจชมุชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
ห่วงโซ่อุปทาน, เครื่องแกง, วิสาหกิจชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาห่วงโซ่อุปทานเครื่องแกงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้าในกระบวนการผลิต ต้นทุนผลตอบแทน และวิถีการตลาดเครื่องแกง โดยใช้แบบสอบถามชนิดมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีการผลิตเครื่องแกงจำหน่าย จำนวน 10 ราย ผู้วิจัยเป็นผู้รวบรวมข้อมูลด้วยตนเองและนำมาวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ได้แก่ จำนวน ร้อยละ โดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟเอ็กเซล (Microsoft Excel) และโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ผลิตเครื่องแกงจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริม ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจอยู่ระหว่าง 11-20 ปี มีสมาชิกกลุ่มประมาณ 20 คน ใช้เงินลงทุนเริ่มแรกในกิจการเฉลี่ยรายละ 197,130 บาท กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลิตเครื่องแกงเพื่อจำหน่าย 3 ชนิด โดยผลิตเครื่องแกงคั่วมากที่สุด ปริมาณ 750 กิโลกรัมต่อเดือน รองลงมาคือเครื่องแกงส้ม ปริมาณ 450 กิโลกรัม ต่อเดือน และเครื่องแกงเขียวหวาน ปริมาณ 300 กิโลกรัมต่อเดือน วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเป็นวัตถุดิบที่เลือกซื้อจากชุมชนก่อน หากไม่เพียงพอจึงจะเลือกซื้อจากตลาดค้าส่งในตัวเมือง ด้านต้นทุนการผลิต พบว่า เครื่องแกงส้มมีต้นทุนสูงที่สุด รองลงมาคือเครื่องแกงเขียวหวาน และเครื่องแกงคั่ว ตามลำดับ การกำหนดราคาเครื่องแกง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลือกกำหนดราคาจำหน่ายเท่ากันในทุกชนิดเครื่องแกง โดยจำหน่ายใน ราคาปลีก 120 บาทต่อกิโลกรัม และจำหน่ายในราคาส่ง 100 บาทต่อกิโลกรัม จึงทำให้เกิดการขาดทุนจาก การจำหน่ายเครื่องแกงส้มในราคาส่ง 1.04 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนวิถีการตลาดเครื่องแกงของกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชน พบว่า ร้อยละ 90 เป็นการจำหน่ายปลีก โดยสมาชิกในกลุ่มจะเป็นผู้นำไปจำหน่ายเองในตลาดชุมชน ได้แก่ ตลาดนัด ตลาดเทศบาล โรงเรียน โรงแรม และงานแสดงสินค้า ส่วนการจำหน่ายส่งจะมีพ่อค้าคนกลางรับจำหน่ายในตลาดนัดให้กับผู้บริโภคต่อไป
References
กัญญามน อินหว่าง, สุพจน์ อินหว่าง และอภิชาต วรรณภิระ. (2554). การจัดการวิสาหกิจชุมชน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.
กันต์ อินทุวงศ์ (2555). การศึกษาการจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ของเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. ใน วารสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ปี พ.ศ. 2555 (19451952). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
จันทนี กองสุข, วิรัตน์ ขาวสรอ้ย, พิริยาภรณ์ อันอาตม์งาม และสุชาดา คชฤกษ์. (2555). การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทนหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์: กรณีศึกษา ทุเรียนทอดกรอบในจังหวัดจันทบุรี. วารสาร เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย, 19(1), 31-38.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2549). โลจิสติกส์เพื่อการผลิตและการจัดการด าเนินงาน. กรงุเทพฯ: หจก. ซี.วาย. ซิซเทิม. พริ้นติ้ง.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2550). โลจิสติกส์และซัพพลายเชน: กลยุทธ์สำหรับลดต้นทุนและเพิ่มกำไร (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: หจก. ซี.วาย. ซซิเทิม. พริ้นติ้ง.
ชุมพล ศฤงคารศิริ. (2552). การวางแผนและควบคุมการผลิต (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
ณัฐวุฒิ ธนเสน. (2557). การพัฒนาความร่วมมือในโซ่อุปทานระหว่างผู้ประกอบการผลิตผู้ประกอบการศูนย์กระจายสินค้า และผู้ประกอบการค้าปลีก. RMUTT Global Business and Economics Review, 9(2), 27-41.
ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2550). การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ธันยธร ติณภพ, ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ และฉันทนา จันทร์บรรจง. (2559). การจัดการห่วงโซ่อุปทานโดยวิสาหกิจ ชุมชนผลิตข้าวอินทรีย์ในเขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 319-330.
ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล. (2551). การวัดผลการด าเนินงานทางโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจ ปริทัศน์, 30(117-118), 157-165.
นริศา เหละดุหวิ. (2553). การพัฒนากระบวนการผลิตน้ำพริกแกงกลุ่มแม่บ้านปากคู อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 2(4), 52-59.
นเรศ นิภากรพันธ. (2555). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตหอยนางรม: กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย, 19(1), 18-30.
บุญฑวรรณ วิงวอน, ชัยยุทธ เลิศพาชิน และขจรศักดิ์ วงศ์วิราช. (2554). การจัดการห่วงโซ่อุปทานของ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผักปลอดสารพิษของอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. ใน วารสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ. การประชุมวิชาการและน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “แม้โจ้-แพร่ วิจัย ครั้งที่ 2” (533-540). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
พิชญ์สิณี สว่างโรจน์, (2556). การรับรู้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการต่อผลิตภัณฑ์ของลูกค้ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยผักกูด ตำบลเซียงกลม อำเภอปากชม จังหวัดเลย. RMUTT Global Business and Economics Review, 8(2), 116-134.
ภูริชยา สัจจาเฟื่องกิจการ และธนัญญา วสุศรี. (2555). การวิเคราะห์ความเสี่ยงโซ่อุปทานธุรกิจการผลิตผักกาดดองบรรจุประป๋อง. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 35(3), 311-321.
รัชนี รูปหล่อ, ดุษฎี พรหมทัต และวัลภา ว่องวิวิธกุล. (2556). แนวทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนและเจริญเติบโตของวิสาหกิจชุมชน. ใน วารสารวิชาการและการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลพระนคร ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5 (158171). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
วลัย หุตะโกวิท, วาสนา ขวยเขิน, เกศรินทร์ มงคลวรวรรณ, น้อมจิตต์ สุธีบุตร, เจตนิพัทธ์ บุญยสวัสดิ์ และ นพพร สกุลยืนยงสุข. (2550). การพัฒนาผลิตภัณฑ์พริกแกงสำเร็จรูปเพื่ออุตสาหกรรมการส่งออก. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 1(1), 9-20.
สมคิด ทักษิณาวิสุทธิ์. (2548). หลักการตลาดสินค้าเกษตร (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สลักฤทัย สมฤทธิ์ และไพฑูรย์ อินต๊ะซัน. (2555). การบริหารต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์จากผ้าทอไทลื้อ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. วารสารการจัดการคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยลำปาง, 5(1), 116-125.
สิริลักษณ์ พิชัยณรงค์, นงนุช สอนโพธิ์ และปรีญา ชันษา. (2559). แนวทางการพัฒนาบุคลากรของกลุ่มทอเสื่อกกบ้านดอนแดง อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม. RMUTT Global Business and Economics Review, 11(1), 170-185.
สุกัญญา สุจาคำ. (2559). กลยุทธ์การตลาดเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกะลานำโชค ตำบลร่วมจิต อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(1), 260-268.
สุกัญญา อธิปอนันต์, สำราญ สาราบรรณ์, พรภิมน มีศิลป์, วีรศักดิ์ บุญเชิญ, เกศณี เถื่อนบัวระบัติ, เทียมจันทร์ สุขเกษม, อาภรณ์ วิศวะไพศาล, ภัคกัญญา โสมภีร์, พยุห์ แก้วคูณ, มงคล อธิกุลวงศ์, ทัศนา คิดสร้าง, ศิริวรรณ หวังดี, เพ็ญประภา แพงภูงา, สิริดา อุปนันท์, สร้อยเพชร ตันติรัตนานนท์ และชาญยุทธ์ ภาณุทัต. (2550). กลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง ปี 2550. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร.
สุธิดา แจ้งประจักษ์. (2559, มกราคม-เมษายน). การจัดการวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา กลุ่มซอสพริกป้าพุ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(47), 95-121.
อดิศร สังข์คร และนงลักษณ์ ผุดเผือก. (2557). โครงการการศึกษาห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจเครื่องแกงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อนุรักษ์ เหล่าเขตรกิจ. (2555). การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าของผลผลิตอ้อยในจังหวัดอุทัยธานี. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่าง, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว