การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนติดตั้งกังหันลม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าของภาคครัวเรือน

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุท ทับเจริญ คณะเศรษฐศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • ฆนัทนันท์ ทวีวัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

คำสำคัญ:

การศึกษาความเป็นไปได้, การติดตั้งกังหันลม, ไฟฟ้า

บทคัดย่อ

การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนติดตั้งกังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าของภาคครัวเรือน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการลงทุนติดตั้งกังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าของ ภาคครัวเรือนในประเทศไทย 2) ศึกษารูปแบบและทางเลือกของการลงทุนติดตั้งกังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ของภาคครัวเรือนในประเทศไทย 3) ศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงินในการลงทุนติดตั้งกังหันลมเพื่อผลิต กระแสไฟฟ้าของภาคครัวเรือนในประเทศไทย และ 4) เพื่อศึกษาราคารับซื้อไฟฟ้ารูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ที่เหมาะสมจากรัฐบาล โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสังเกตการณ์โดยมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องกังหันลมสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า จำนวน 3 ราย และใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จากการรวบรวมเอกสารทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ โดยเครื่องมือทางการเงินที่ใช้ คือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายใน อัตราผลตอบแทนภายในที่มีการปรับค่าแล้ว ดัชนีความสามารถในการทำกำไร และการทดสอบค่าความแปรเปลี่ยน ผลการศึกษาพบว่า สภาพพื้นที่ในประเทศไทยบริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้และภาคตะวันออก มีศักยภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยพลังงานลม จากการศึกษาทางด้านเทคนิค พื้นที่ที่มีความเร็วลม 2-5 เมตรต่อวินาที ควรติดตั้งกังหันลมขนาด 200 วัตต์ พื้นที่ที่มีความเร็วลม 5-7 เมตรต่อวินาที ควรติดตั้งกังหันลม ขนาด 500 วัตต์ และ พื้นที่ที่มีความเร็วลม 7-12 เมตรต่อวินาที ควรติดตั้งกังหันลมขนาด 1000 วัตต์ เมื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน โดยกำหนดอายุโครงการ 20 ปี ที่ต้นทุนเงินทุนร้อยละ 6.58 โดยมี ฐานภาษีเงินได้ร้อยละ 0 พบว่า กรณีที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในรูปแบบ Feed-in-Tariff อัตรารับซื้อ 6.06 บาทต่อหน่วย กังหันลมขนาด 200 วัตต์ ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนส่วนกังหันลมขนาด 500 วัตต์ และ 1000 วัตต์ มีความคุ้มค่าในการลงทุน กรณีที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยค่าพลังงานไฟฟ้า เท่ากับ 4.4217 บาทต่อหน่วย อัตราค่าไฟฟ้าผันแปรเท่ากับ 0.34 บาทต่อหน่วย ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 กังหันลมขนาด 200 วัตต์ ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน ส่วนกังหันลมขนาด 500 วัตต์และ1000 วัตต์ มีความคุ้มค่าในการลงทุน

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2559). พลังงานลม. สืบค้นจาก http://www4.dede.go.th /dede/index.php?option=com_content&view=article&id=97&Itemid=58&lang=th

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2559). สถานการณ์พลังงานของประเทศไทย 2558. สืบค้น จาก http://www.dede.go.th/ewt_news.php?nid=43397

กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน. (2559). แผนที่ศักยภาพพลังงานลมของประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www2.dede.go.th/renew/Twm/main.htm

กระทรวงพลังงาน. (2559). นโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in-Tariff. สืบค้นจาก http://www2.eppo.go.th/power/fit-seminar/FiT_2558.pdf

กระทรวงพลังงาน. (2559). แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579. สืบค้น จาก http://www.dede.go.th/download/files/AEDP2015_Final_version.pdf

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2559). ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก(VSPP). สืบค้นจาก https://www.pea.co.th/ เกี่ยวกับเรา/การดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล/ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก-VSPP/PID/1078/ evl/0/CategoryID/40/CategoryName/ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากVSPP

เนเชอรัล-เอ็นเนอจี้. (2559). ชุดกังหันลมผลิตไฟฟ้า. สืบค้นจาก http://www.naturalenergyth.com/ inhome.html

ประสิทธิ์ ตงยิ่งศิริ. (2544). การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สงกรานต์ สังขรัตน์. (2558). ความเป็นไปได้ในการลงทุนระบบการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย. (2558). ส่วนประกอบของกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้า. สืบค้น จาก http://www.reca.or.th/library-wind-power.aspx

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ. (2558). แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579. สืบค้นจาก http://www.eepmekong.org/index.php/resources/ country-reports/thailand/217-thailand-power-development-plan-2015-2036-full- text-in-thai/file

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2558). ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very Small Power Producer VSPP). สืบค้นจาก http://www.eppo.go.th/images/Power/pdf/vspp- renew.pdf

หฤทัย มีนะพันธ์. (2550). หลักการวิเคราะห์โครงการ: ทฤษฎีและวิธีปฎิบัติเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ. กรุงเทพฯ: แทกซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29

How to Cite

ทับเจริญ ช.; ทวีวัฒน์ ฆ. การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนติดตั้งกังหันลม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าของภาคครัวเรือน. RMUTT Global Business and Economics Review, Pathum Thani, Thailand, v. 12, n. 2, p. 69–78, 2017. Disponível em: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/241920. Acesso em: 6 เม.ย. 2025.