รูปแบบสุขภาวะในองค์การธรรมาภิบาล และหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียง เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ และการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานในตลาดสี่มุมเมือง
คำสำคัญ:
สุขภาวะในองค์การ, ธรรมาภิบาล, หลักเศรษฐกิจแบบพอเพียง, การสร้างสมรรถนะ, การเป็นสมาชิกที่ดีบทคัดย่อ
งานวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ สองประการคือ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างสมรรถนะ และการสร้างการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานในตลาดสี่มุมเมือง และ 2. เพื่อค้นหารูปแบบสุขภาวะในองค์การธรรมาภิบาลและหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียง เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะและการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานในตลาดสี่มุมเมืองประชากรในการวิจัย คือ พนักงานในตลาดสี่มุมเมืองจำนวน 665 คน คำนวณ ผลโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.04 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 339 คน ข้อมูลที่ใช้จัดเก็บได้แก่แบบสอบถามที่ผ่านความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างสมรรถนะในการทำงานเกิดจากการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การ (β = 0.68) หลักเศรษฐกิจแบบพอเพียง (γ =0.23) สุขภาวะในองค์การ (γ =0.17) และหลักธรรมาภิบาล (γ =0.08) ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานในตลาดสี่มุมเมือง เกิดจากหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียง (γ =0.43) หลักธรรมาภิบาล (γ =0.32) และสุขภาวะในองค์การ (γ =0.20) ตามลำดับ 2) รูปแบบสุขภาวะในองค์การธรรมาภิบาลและหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียง เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะและการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานในตลาดสี่มุมเมืองต้องเกิดจากการผสมผสานกัน การเป็นสมาชิกที่ดีสามารถสร้างสมรรถนะในการทำงานที่สร้างประสิทธิผลในการทำงาน โดยผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับการใช้ธรรมภิบาลในการบริหาร การสร้างสุขภาวะในองค์การและที่ขาดไม่ได้คือการสร้างจิตสำนึกในเรื่องการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เข้ามาปรับใช้กับพนักงานทุกคน เป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่ต้องมีแผนการที่ชัดเจนในการสร้างความสุขให้คนในองค์การ ก่อให้เกิดเป็นสุขภาวะในองค์การสร้างสังคมที่เป็นสุขใช้หลักการบริหารตามแนวธรรมาภิบาล เพื่อสร้างองค์การที่มีความเป็นธรรม และสร้างแนวคิดหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียงให้กับทุกคนในองค์การ เพื่อมีความต้านทานต่อกระแสบริโภคนิยมในปัจจุบัน ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยสร้างให้คนในองค์การเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ และสามารถสร้างสมรรถนะให้กับตนเองในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ผลที่ตามมาคือจะได้องค์การที่มีคุณภาพ
References
เกษม วัฒนชัย. (2549). การเรียนรู้ที่แท้และพอเพียงในหลักคิด “พอเพยีง”. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพยีง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ. (2556). เศรษฐกิจพอเพยีง. สืบค้นจาก http://www.sufficiencyeconomy.org/ images/suff/suff-econ-.pdf
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย. (2550). รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี 2550. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ชาญวิทย์ วสันนนต์ธนสรัตน์. (2551). องคก์รแห่งความสุข 8 ประการ. หมอชาวบ้าน, 30(349), 18-25.
ตลาดสี่มุมเมือง. (2558). แนะนำตลาดสี่มมุเมือง. สืบค้นจาก http://www.taladsimummuang.com/ dmma/portals/About.aspx?id=29
ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2548). เริ่มต้นอย่างไร เมื่อจะนำ Competency มาใช้ในองค์การ. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสรมิเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมี ลี้. (2544). ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
ปรีชา ชื่นชนกพิบูล และประกอบ คุณารักษ.์ (2558). รูปแบบนวัตกรรมการบริหารเพื่อพัฒนางานของ ศูนย์บริการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ. วารสารวชิาการมหาวิทยาลัยอสีเทริ์นเอเชีย, 4(2), 23-31.
วิเชียร วิทยอุดม. (2549). พฤติกรรมองค์การ (พมิพ์ครั้งท ี่3). กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม.
วินัย ประวันนา. (2544). การศึกษารูปแบบการดำเนินการและปัญหาการดำเนินการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนแกนนำ สังกัดสำนักงานการประถมจังหวัดขอนแก่น. (ปริญญานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต กาญจนา ตั้งชลทิพย ์สุภรต ์จรัสสิทธิ์ เฉลิมพล สายประเสริฐ พอตา บุนยตีรณะ และ วรรณภา อารีย์. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและ สังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2550). เศรษฐกิจแบบพอเพียง. สืบค้นจาก http://www.thaiedresearch.org/result /result.php?id=3996.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). ภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2556. สืบค้นจาก http://social.nesdb.go.th/social/Default.aspx?tabid=127&articleType =ArticleView&articleId=144
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). คู่มือมาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. มปท.
อภิชาติ ภู่พานิช. (2551). การใช้ดัชนีวัดระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์. (2548). Career development in practice (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็น เตอร์.
Morris, C. G., & Maisto, A. A. (2001). Understanding psychology (5th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Niehoff, P. B. (2001). A motive-based view of organizational citizenship behaviors: applying an old lens to a new class of organizational behaviors. Digital Dissertation: Kansas State University.
Robbins, S. P. (2001). Organizational behavior (9th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Smith, C. A., Organ, D. W., & Near, J. R. (1983). Organizational citizenship behavior: its nature and antecedent. Journal O & F Applied Psychology. 68(4), 653-663.
Yamane, T. (1967). Statistics: an introductory analysis, (2nd ed.). New. York: Harper and Row. Zwell, M. (2000). Creating a culture of competence. NewYork: John Wiley and Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว