การพลิกฟื้นธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มผู้ประกอบการที่มีความเติบโตแบบลดลง (turnaround)
คำสำคัญ:
วงจรธุรกิจ, การพลิกฟื้นธุรกิจ, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, Altman Z-scoreบทคัดย่อ
หลังจาก วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยประสบในปี พ.ศ. 2540 ไทยได้ให้ความสำคัญต่อ SMEs ได้มีการจัดตั้ง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME Bank) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีการส่งเสริม SMEs แบบ Portfolio approach โดยแบ่ง SMEs เป็นกลุ่มตาม วงจรธุรกิจ (Life cycle) กล่าวคือกลุ่ม Pre-start-up, Start-up, Expansion, High growth, Internationalization และกลุ่ม Turn around สสว. ได้นิยามคำว่า Turnaround หมายถึง กลุ่มผู้ประกอบการที่มีความเติบโตแบบลดลง เป็นกลุ่มที่มีรายได้รวม 3 ปี ลดลงรวมกันมากกว่า ร้อยละ 20 แต่ตามทฤษฎีการพลิกฟื้น Turnaround หมายถึง “การพลิกฟื้นธุรกิจ” (Turnaround) ความหมายรวมตั้งแต่ ความตกต่ำ (Decline) ในขั้นตอนการดำเนินงานของบริษัท และตามมาด้วย ขั้นตอนการการฟื้นตัว
ในปี 2559 มีจำนวนนิติบุคคลที่เป็น SMEs นำส่งงบการเงินต่อเนื่อง 4 ปี ล่าสุด จำนวน 23,615 ราย จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เกณฑ์รายได้รวมจากงบการเงิน 4 ปี ล่าสุด พบว่า ผู้ประกอบการ SMEs ที่อยู่ในกลุ่มที่มีความเติบโตแบบลดลง (Turnaround) เป็นจำนวน 71,170 ราย (ร้อยละ 35.74) และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นในปีต่อ ๆ ไป นับว่าเป็นภาระหนักของรัฐบาลในการส่งเสริม SMEs ดังนั้น การลดจำนวน Turnover จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ วิธีหนึ่งที่ทำได้คือป้องกันไม่ให้ธุรกิจตกอยู่ในระยะตกต่ำ (Decline) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม เสนอแนะว่า SMEs ควรหมั่น “ตรวจสุขภาพธุรกิจ” เพื่ออุดช่องโหว่ และเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องหันมาให้ความสำคัญ โดยมีการ “ตั้งรับ” และวางแผนเรื่องการเงินไว้ล่วงหน้า สำหรับบางธุรกิจที่อาจประสบปัญหาสภาพคล่อง และเกิดภาวะชะลอตัว บางรายร้ายแรงถึงขนาดนำไปสู่ปัญหาหนี้เสีย (NPL) หรือ ติดเครดิตบูโร ซึ่งจะยิ่งทำให้ธุรกิจเข้าสู่ภาวะตีบตัน เพราะนั่นหมายถึง การติดแบล็คลิสต์ในการขอกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อมาประคองธุรกิจ ก็จะหมดโอกาสไปด้วย การตรวจวัดสุขภาพธุรกิจจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ทันท่วงที Altman Z-Score เป็นเครื่องมือตรวจวัดสุขภาพทางการเงินของบริษัทที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลก การใช้ค่า Z-Score (Altman, 1968) ในการวิเคราะห์พื้นฐานเพื่อวัดสุขภาพทางการเงินของบริษัท ใช้เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการล้มละลายของบริษัท ซึ่งมีข้อดีคือเป็นเครื่องมือที่ประยุกต์ใช้ได้ง่าย และมีความแม่นยำ
บทความนี้จึงมุ่งอธิบายถึง วงจรธุรกิจ (Business life cycle) การพลิกฟื้น (Turnaround) เครื่องมือตรวจวัดสุขภาพธุรกิจ Altman Z-score อันจะเป็นการส่งผลให้ SMEs สามารถประคองอยู่รอดได้ และมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันในอนาคตได้อย่างยั่งยืน
References
กุสุมา ถิรตันคยาภรณ์. (2549). การศึกษาแบ่งจำลอง Z-Score Model ของ Altman เพื่อใช้ทำนายภาวะล้มเหลวทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม (เฉพาะกิจ). (2560). รายงานผลการดำเนินงานของ สสว. ประจำปี 2559. สืบค้บจาก http://www.sme.go.th/upload/
จตุราพร สีหาบุตร และนารา กิตติเมธีกุล (2557, กันยายน – ธันวาคม). ความแข็งแกร่งทางการเงินของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทยจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(3), 146-158.
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว. (2554). Turnaround Strategy. สืบค้นจาก https://investmentseeker.wordpress.com/2011/05/05/turnaround-strategy-1
ธัญชนก ทองใหม่. (2559). การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วยแบบจำลอง Altman ในกลุ่มบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจการท่องเที่ยวในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม. (2559). หมั่นเช็คสุขภาพธุรกิจ ป้องกัน “NPL-เครดิตบูโร สืบค้นจาก https://mgronline.com/SMEs/detail/9590000018561
บุญคง หันจางสิทธิ์. (2544). เศรษฐศาสตร์มหภาค. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ประวิทย์ ตันตราจินต์. (2543). การศึกษางบการเงินเพื่อหาสัญญาณเตือนภัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล. (2560). แผนรับมือของ สสว. กับเทคโนโลยีที่จะเขย่าวงการ SMEs ปี 2018. สืบค้นจาก http://news.mbamagazine.net/index.php/entrepreneurship/SMEs/item/507-SMEs-2018
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2560). แผนการส่งเสริม SME ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นจาก http://www.ubu.ac.th/web/files_up/03f2017052114185579.pdf
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนากลางและขนาดย่อม. (2560). แนวทางการส่งเสริม SME กลุ่มที่มีความเติบโตแบบลดลง (Turnaround). สืบค้นจาก http://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20171124114327.pdf
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนากลางและขนาดย่อม. (2560). แนวทางการส่งเสริม SME ตามระดับการเติบโนของธุรกิจ (Business Life Cycle). สืบค้นจาก http://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20171124114327.pdf
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561). โครงการเงินกู้ไร้ดอกปิดแล้ว สสว.เตรียมให้การสนับสนุนด้านอื่น. สืบค้นจาก https://www.bangkokbanksme.com/article/15441
สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า. (2553). การจัดทำและเผยแพร่ดัชนีเศรษฐกิจการค้า (ดัชนีวัฏจักรธุรกิจและดัชนีวัฏจักรเงินเฟ้อ). สืบค้นจาก http://www.price.moc.go.th/price/cbi/handbook/cfi.pdf
Al -Sulaiti, K. I., & Almwajeh, O. (2007). Applying Altman Z -score model of bankruptcy on service organizations and its implications on marketing concepts and strategies.
Journal of International Marketing & Marketing Research, 32(2), 59-74.
Allbusiness. (2010). Business definition for: turnaround. Retrieved from http://www.allbusiness.com/glossaries/turnaround/4942694-1.html
Altman, E. I. (1968). Financial ratios, discriminant analysis and the prediction of corporate bankruptcy. The Journal of Finance, 23(4), 589-609.
Altman, E. I., Hartzell, J., & Peck, M. (1995). A scoring system for emerging market corporate bonds. Salomon Brothers High Yield Research.
Anjum, S. (2012). Business bankruptcy prediction models: a significant study of the Altman’s Z-score model. Asian Journal of Management Research, 3(1), 212-219.
Anthony, J. H., & Ramesh, K. (1992). Association between accounting performance measures and stock prices. Journal of Accounting and Economics, 15, 203-227.
Apergis, N., Sorros, J., Artikis, P. & Zisis, V. (2011). Bankruptcy probability and stock prices: the effect of Altman z-score information on stock prices through panel data. Journal of Modern Accounting and Auditing. 7(7) 689-696.
Balgobin, R. & Pandit, N. (2001). Stage in the Turnaround Process: the Case of IBM UK. European Management Journal, 19(3), 301-316.
Barker, V. L., Mone, M. A., Mueller, G. C. & Freeman, S. J. (1998). Does it add up? an empirical study of the value of downsizing for firm turnaround. In Advances in Applied Business Strategy, 5.
Beaver, W. (1966). Financial ratio as predictor of failure. Journal of Accounting Research, 4, 77-111.
Bellovary, J., Giacomino, D., & Akers, M. (2007). Review of bankruptcy prediction studies:1930-Present. Journal of Financial Education, 33, 1-43.
Bibeault, D. G. (1982). Corporate turnaround: how managers turn losers into winners. New York: McGraw Hill.
Black, E. (1998). Life-Cycle impacts on the incremental value-relevance of earnings and cash flow measures. The Journal of Financial Statement Analysis, 40-56.
Burns, A. & Mitchell, W. (1946). Measuring Business Cycles. New York: National Bureau of Economic Research.
Business.yourdictionary. (2010). Turnaround-Business Definition. Retrieved from http://business.yourdictionary.com/turnaround
Businessdictionary. (2010). Turnaround. Retrieved from http://www.businessdictionary.com/definition/turnaround.html#ixzz13KlEZ1R2
Chudson, W. (1945). The pattern of corporate financial structure. New York: National Bureau of Economic Research.
Čihák, M. & Hesse, H. (2011). Islamic mutual funds’ financial performance and international investment style: evidence from 20 countries. The European Journal of Finance, 829-850.
Finkin, E. F. (1985). Corporate turnaround. The Journal of Business Strategy. 5(4), 14-24.
Grinyer & MaKiernan. (1990). The Sherpbenders: achieving a sustained improvement in performance. Long Range Planning, 23, 116-125.
Hayes, S. K, Hodge, K. A., & Hughes, L. W. (2010). A study of the efficacy of Altman’s Z to predict bankruptcy of specialty retail firms doing business in contemporary times. Economics & Business Journal: Inquiries & Perspectives, 3(1), 130-134. Higher Rock Education and Learning. Business life cycle. Retrieved from https://www.higherrockeducation.org/glossary-of-terms/business-cycle
Hofer, C. W. (1980). Turnaround strategies. Journal of Business Strategy, 1(1):19-31.
Investinganswers. (2010). Turnarounds. Retrieved from http://www.investinganswers.com/term/turnaround-888
Jackendoff, N. P. (1962). A study of published industry financial and operating ratios. Philadelphia: Temple University, Bureau of Economic and Business Research.
Ko, L. J., Blocher, E. J., & Lin, P. P. (2001). Prediction of corporate financial distress: An application of the composite rule induction system. The International
Journal of Digital Accounting Research, 1(1), 69-85.
Modiano, P. (1987). Made in Great Britain: lessons from manufacturing turnarounds. European Management Journal, 5(3), 174-179.
Pandey, I. M., (1994). Financial management. (6th ed.). Noida: Vikas Publishing.
Park, Y., & Chen, K. H. (2006). The effect of accounting conservatism and life-cycle stages on firm valuation. Journal of Applied Business Research, 22(3), 75-92.
Robbins, D. K. & Pearce, J. A. (1992). Turnaround: retrenchment and recovery. Strategic Management Journal, 13(4), 287-309.
Robbins, D. K. & Pearce, J. A. (1993). toward improved theory and research on business turnaround. Journal of Management, 19(3), 613-624.
Schendel, D. E., Patton, R., Riggs, J. (1976). Corporate turnaround strategies: a study of profit decline and recovery. Journal of General Management, 3, 3-11.
Slatter, S. (1984). Corporate recovery, successful turnaround strategies and their implementation. Harmondswort, London: Penguin.
Smith, R., & Winakor, R. (1935). Change in financial structure of unsuccessful industrial corporations. Bulletin No. 51, Urbana: University of Illinois Press, Bureau of Business Research.
Tvorik, S. J., Boissoneau, R., & Pearson, N. (1998). Performance parameters as indications of success and predictors of failure in strategic management. Journal of Professional Services Marketing, 17(2), 41-67.
Willetts, D. (2010). Successful-business-turnaround. Retrieved from http://ezinearticles.com/?Discover-10-Steps-to-a-SuccessfulBusiness- Turnaround&id=502210
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว