ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับราคาหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
การวางแผนภาษี, อัตราภาษีที่แท้จริง, อัตราภาษีต่อสินทรัพย์รวม, อัตราภาษีต่อกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงานบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับราคาหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยกเว้นบริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงิน บริษัทกลุ่มที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ และบริษัทที่มีผลการดำเนินงานขาดทุน ได้กลุ่มตัวอย่างที่มีข้อมูลครบถ้วนจำนวน 190 บริษัท โดยเก็บข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและรายงานประจำปี 2559 ของกลุ่มตัวอย่าง ระดับการวางแผนภาษีศึกษาจากอัตราส่วนการเงินจำนวน 3 อัตราส่วน ได้แก่ อัตราส่วนภาษีต่อสินทรัพย์รวม อัตราภาษีต่อกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน และอัตราภาษีที่แท้จริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า การวางแผนภาษีที่วัดจากอัตราภาษีต่อสินทรัพย์รวม มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 1.51 และมีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกันกับราคาหุ้นสามัญ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 หมายความว่า บริษัทที่มีอัตราภาษีต่อสินทรัพย์รวมมีค่าน้อย หรือมีการวางแผนภาษีมาก ราคาหุ้นสามัญจะลดลง และถ้าบริษัทมีอัตราภาษีต่อสินทรัพย์รวมมีค่ามาก หรือมีการวางแผนภาษีน้อย ราคาหุ้นสามัญจะเพิ่มขึ้น สำหรับการวางแผนภาษีที่วัดจากอัตราส่วนภาษีต่อกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 16.90 ส่วนการวางแผนภาษีที่ วัดจากอัตราภาษีที่แท้จริง มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 17.02 และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนภาษีต่อกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงานกับราคาหุ้นสามัญ และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราภาษีที่แท้จริงกับราคาหุ้นสามัญ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
References
ชฏิล โรจนานนท์. (2549, กันยายน). รู้จักนำสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการส่งเสริม FDI ของไทย การศึกษาโดยใช้อัตราภาษีที่แท้จริง (effective tax rate). สัมมนาวิชาการประจำปีของสำนักงานเศรษฐกิจ ครั้งที่ 3 โรงแรมโซพิเทล กรุงเทพฯ.
ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม. (2558). คำสอนวิชากฎหมายภาษีอากร (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร. สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
ฐิตราภรณ์ สวรรค์ตรานนท์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับราคาหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในดัชนี SET100 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ดารณี ยมนา. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างเงินทุนหมุนเวียนกับราคาหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2559). ข้อมูลงบการเงินรวม ประจำปี 2559. สืบค้นจาก https://www.setsmart.com/ism/login.jsp
ธัชวิน โอจรัสพร. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินหลักกับราคาหุ้นสามัญในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ธัญพร ตันติยวรงศ์. (2552). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนภาษีและความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับมูลค่าของกิจการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
สุกฤตา โพธิประสาท. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ : กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
สุชาดา ศรีสกลกิจ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
สัตยา ตันจันทร์พงศ์. (2557). อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการ การบริหารกำไรและการวางแผนภาษีที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
สมเดช โรจน์คุรีเสถียร และคณะ. (2550) การวางแผนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์ธรรมนิติ.
Abdul Wahab, N. S. (2010). Tax planning and corporate governance: effects on shareholders’ valuation. (Doctoral’s thesis, University of Southampton, United Kingdom).
Badertscher, B., Katz, S. P., & Rego, S. O. (2009). The impact of private equity ownership on portfolio firms’ corporate tax planning. Retrieved from https://www.pehub.com/wp-content/uploads/hbs_workingpaper.pdf
Dyreng, S. D., Hanlon M., & Maydew, E. L. (2008). Long-Run Corporate Tax avoidance. The Accounting Review, 83(1), 61-82.
Hanlon, M., Mills, L.F., & Slemrod, J.B. (2005). An empirical examination of corporate tax noncompliance. Ross School of Business Paper No. 1025. Retrieved from SSRN: https://ssrn.com/abstract=891226 or https://dx.doi.org/10.2139/ssrn.891226
Hanlon, M., Mills, L.F., & Slemrod, J. (2009). What does tax aggressiveness signal? Evidence from stock price reactions to news about tax shelter involvement. Journal of Public Economics, 93, 126-141.
Heitzman, S., & Ogneva, M. (2015). Corporate tax planning and stock returns (Student paper). Marshall School of business, University of Southern California.
Hoffman, W.H. (1961). The theory of tax planning. The Accounting Review, 36(2), 274–281.
Mills, L. (1998). Book-tax differences and internal revenue service adjustments. Journal of Accounting Research, 36, 343-356.
Tsakumis, G.T., Curatola, A.P., & Porcan, T.M. (2007). The relation between national cultural dimensions and tax evasion. Journal of International Accounting, Auditing and Taxation, 16, 131-147.
Zimmerman, J. L. (1983). Taxes and firm size. Journal of Accounting and Economics, 5, 119-149.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว