ผลกระทบของการบริหารจัดการองค์กร การวิจัย และการบริการวิชาการที่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนและประสิทธิภาพในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

ผู้แต่ง

  • จิตรลดา ตรีสาคร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
  • พิศมัย จารุจิตติพันธ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
  • เกียรติชัย วีระญาณนนท์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการองค์กร , ประสิทธิภาพในการผลิต , บัณฑิตนักปฏิบัติ , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทดสอบผลกระทบของการบริหารจัดการองค์กร การจัดการด้านการวิจัย และการจัดการด้านการบริการวิชาการที่มีผลต่อการจัดการด้านการจัดการเรียนการสอน และประสิทธิภาพในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จากคณะบริหารธุรกิจหรือคณะที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนด้านการบริหารธุรกิจ ภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่ง จำนวนทั้งสิ้น 500 คน ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและตามความสะดวก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า ผลการวิเคราะห์อิทธิพลทางตรงพบว่า 1) การบริหารจัดการองค์กรมีผลต่อการจัดการด้านการวิจัยและการจัดการด้านการเรียนการสอน 2) การจัดการด้านการวิจัยมีผลต่อการจัดการด้านการบริการวิชาการและประสิทธิภาพในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ และ 3) การจัดการด้านการเรียนการสอนมีผลต่อประสิทธิภาพในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.001 นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์อิทธิพลทางอ้อมพบว่า 4) การบริหารจัดการองค์กรส่งผลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ผ่านตัวแปรการจัดการด้านการวิจัย และ การจัดการด้านการเรียนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้ผลการวิจัยสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงปฎิบัติและวิชาการ

References

กัลยารัตน์ อนนท์รัตน์. (2556). การจัดการความรู้กับการพัฒนาภารกิจอุดมศึกษาในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชนก กระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี, 29(2), 142-150.

จันทิมา องอาจ, บรรเจิด เจริญเวช, และสนชัย ใจเย็น. (2561). การบริหารจัดการการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎ์ธานี. วารสารราชภัฎสุราษฏร์ธานี, 5(1), 273-298.

ชุติมา สัจจานันท์. (2554). การวิจัยระดับบัณฑิตศึกษากับการพัฒนา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 11(4), 1-8.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วานิชย์ศุภวงศ์, วุฒิชัย เนียมเทส และณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2558). การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 10(1), 59-76.

เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ และ กรกนก ลัทธนันท์. (2556). การบริการวิชาการแก่สังคมการพัฒนาคุณภาพเพื่อสร้างคุณค่า. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 6(3), 2-15.

พชร แสงแก้ว. (2561). ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อหลักสูตรแพทย์ศาสาตร์บัณฑิตหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2557 คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. เวชบันทึกศิริราช, 11(2), 74-80.

เพลินพิศ จุฬพันธ์ทอง, สุนทรี ดวงทิพย์, ชูชีพ พุทธประเสริฐ และยุภาดี ปณะราช. (2557). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(1), 40-53.

มานิตย์ ไชยกิจ. (2557). แนวทางการบูรณาการการเรียนการสอนกับการวิจัยและการบริหารการวิชาการแก่สังคมของสถาบันอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(2), 205-213.

รุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุล. (2559). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อรองรับข้อตกลงประชาคมอาเซียนและแนวโน้มการศึกษาระดับอุดมศึกษาของโลก..วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(2), 109-125.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วีรนันท์ พาวดี. (2556). แนวทางพัฒนางานการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยแม่โจ้. รายงานวิจัย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ศุภิสรา สุวรรณชาติ, อนัญญา คูอาริยกุล, และอุราภรณ์ เชยกาญจน์. (2562). การบูรณาการพันธกิจ บทบาทหน้าที่ท้าทายของอาจารย์ในสถาบันอุดมสึกษา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 25(1), 158-175.

สุธาสินี นิรัตติมานนท์. (2560). การจัดการระดับอุดมศึกษาสาขาวิชาเทศศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 13(2), 204-226.

สุปรียา ศิริพัฒนากุลขจร. (2555). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ห้องเรียนเสมือนจริงแบบใช้ปัญหาเป็นหลักในระดับอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

อานุสิด มะโนสาน, พูนชัย ยาวิราช, ประเวศ เวชชะ, และสมเกียรติ ตุ่นแก้ว. (2561). การพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในวิทยาลัยครูหลวงพระบาง สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลอลงกรณ์ในพระบรมราชชูปถัมภ์, 13(2), 56-64.

Arbuckle, J. L. (2011). Amos 20 user’s guide. Chicago, IL: SPSS Inc.

Bentler, P. M., & Chou, C. P. (1987). Practical issues in structural modeling. Sociological Methods & Research. 16(1), 78-117.

Best, W. J., & Kahn, V. J. (2006). Research in Education (10th ed.). Boston: Allyn & Bacon.

Dwaikat, N. Y. (2020). A comprehensive model for assessing the quality in higher education institutions. The TQM Journal, 33(4), 841-855. https://doi.org/10.1108/TQM-06-2020-0133

Gunarathne, N., Senaratne, S., & Senanayake, S. (2019). Outcome-based education in accounting: The case of an accountancy degree program in Sri Lanka. Journal of Economic and Administrative Sciences, 36(1), 16-37.

Hajiar, S. T. (2014). A statistical study to develop a reliable scale to evaluate instructors within higher institution. WSEAS Transactions on Mathematics, 13, 885-894.

Khalaf, M. A., & Khourshed, N. (2017). Performance-based service quality model in postgraduate education. International Journal of Quality & Reliability Management, 34(5), 626-648. https://doi.org/10.1108/IJQRM-04-2015-0059

Kotásková, S. K., Procházka, P., Smutka, L., Maitah, M., Kuzmenko, E., Kopecká, M., & Hönig, V. (2018). The impact of education on economic growth: The case of India. Acta Universitatis Agriculturae Et Silviculturae Mendelianae Brunensis, 66(1), 253-261.

Mahalingam, S. (2018). An empirical investigation of implementing lean six sigma in higher education institutions. International Journal of Quality & Reliability Management. 35(10), 2157-2180. https://doi.org/10.1108/IJQRM-05-2017-0098

Mariana, D. R. (2015). Education as a determinant of the economic growth. The case of Romania. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 197, 404-412.

Mousa, M., Abdelgaffar, H. A., & Ayoubi, R. M. (2019). Responsible management education in Egyptian public business schools: Are academics ready?. Journal of Management Development, 38(8): 681-696. https://doi.org/10.1108/JMD-01-2019-0022

Romer, D. (2011). Advanced macroeconomics (4th ed.). New York: Mcgraw-Hill.

Sembiring, M. G., & Rahayu, G. (2019). Verifying the moderating role of satisfaction on service quality and students’ accomplishment in ODL perspective. Asian Association of Open Universities Journal, 15(1), 1-12. https://doi.org/10.1108/AAOUJ-08-2019-0035

Todaro, M., & Smith, S. (2011). Economic development (11th ed.). Boston, Mass: Addison Wesley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

How to Cite

ตรีสาคร จ. .; จารุจิตติพันธ์ พ. .; วีระญาณนนท์ เ. . ผลกระทบของการบริหารจัดการองค์กร การวิจัย และการบริการวิชาการที่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนและประสิทธิภาพในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. RMUTT Global Business and Economics Review, Pathum Thani, Thailand, v. 18, n. 1, p. 175–192, 2023. Disponível em: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/265648. Acesso em: 17 พ.ค. 2025.