การศึกษาความคุ้มค่าทางการเงินในการเลี้ยงปลานิลของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ธนาธิป พัวพรพงษ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
  • ปิยะดา คัมภิรานนท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
  • รพีพร ชัยชนะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

คำสำคัญ:

ความคุ้มค่าทางการเงิน, การเลี้ยงปลานิล, กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงตลอดห่วงโซ่ปลานิลของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม 2. ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการเลี้ยงตลอดห่วงโซ่ปลานิลของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม และ 3. วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินในการเลี้ยงตลอดห่วงโซ่ปลานิลของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณโดยผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างจาก เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประมงจังหวัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เกษตรกรที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์มปลานิลจังหวัดนครปฐม และ กลุ่มที่ 2 เกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP และกลุ่ม เกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน Safety level ฟาร์มปลานิลจังหวัดนครปฐม จำนวนกลุ่มละ 16 ราย ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ จากนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักวิชาการประมงจังหวัดนครปฐม พาณิชย์จังหวัดนครปฐม และนักวิชาการด้านการเงินหรือด้านบัญชี จำนวน 6 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผลการวิจัย พบว่า 1) เงินลงทุนในการเลี้ยงตลอ ดห่วงโซ่ปลานิลของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม เฉลี่ย 390,781.25 บาท และค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงเฉลี่ย 216,187.50 บาท เมื่อเปรียบเทียบ เงินลงทุน และค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงระหว่างเกษตรกรทั้งสองกลุ่ม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ต้นทุนในการเลี้ยงตลอดห่วงโซ่ปลานิลของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม เฉลี่ย 412,781.25 บาท ส่วนผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 1,595,875 บาท และผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) เฉลี่ย 102.01 % เมื่อเปรียบเทียบ ต้นทุน และผลตอบแทนสุทธิระหว่างเกษตรกรทั้งสองกลุ่ม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณาจากค่าผลตอบแทนจากการลงทุน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่ม เกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน จะมีผลตอบแทนสูงกว่า 3) วิธีการลดต้นทุนและการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตปลานิล จะก่อให้เกิดความคุ้มค่าทางการเงินในการเลี้ยงตลอดห่วงโซ่ปลานิลของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม โดยใช้การบูรณาการวิธี ในด้านของการผลิตต้องเน้นแปรรูปในผลิตภัณฑ์ ประสานงานกับฟาร์มที่รับซื้อปลา เน้นการลดต้นทุนในด้านอาหารที่ใช้เลี้ยง ใช้วิธีการเลี้ยงเพื่อควบคุมขนาดของปลา มีการตรวจคุณภาพของน้ำ มีการเลี้ยงปลาแบบผสม เช่นเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลายี่สก และแสวงหาตลาดที่เกษตรสามารถค้าเองได้ทั้งในมีตลาดสด และตลาดแปรรูป

References

กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมงสถิติ. (2563). ผลผลิตการ เลี้ยงสัตว์น้ำจืด ประจำปี2561. สืบค้นจาก https://www4.fisheries. go.th/local/file_document/20200714131535_1_file.pdf

จงภร มหาดเล็ก จักรกริช ไชยเนตร และสุวิมล ขวัญศิริวงศ์. (2562) การเปรียบเทียบผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ระหว่างการใช้การดูแลแบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) กับการดูแลแบบเกษตรกรทั่วไปในตําบลสาวชะโงก อําเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. PSRU Journal of Science and Technology, 4(2), 69-84.

ชาญศักดิ์ ตั้งสันติกุลานนท์. (2560). การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตขาเทียมโดยใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม. สืบค้นจาก http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=166674

ซัลมา หนุ้ยโดด และเสาวลักษณ์ จันทร์ประสิทธิ์. (2563). ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังกรณีศึกษา: ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. Economics and Business Administration Journal Thaksin University, 13(1), 163–176.

ณฌา ขวัญมณี และกลาโสม ละเต๊ะ. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดแพะในพื้นที่จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 12(1).160-170.

ทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์ และพัชรินท์ สุภาพันธ์. (2558). ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจการลงทุนในกลุ่มธุรกิจพืชผักเกษตรอินทรีย์ โดยการใช้ปุ๋ยหมักไส้เดือน. RMUTL Journal of Business Administration and Liberal Arts, 3(2), 99–105.

นภาพร นิลาภรณ์กุล อภิรดา สุทธิสานนท์ วันเพ็ญ วศินารมณ์ สุภา ทองคง และจิตนา อาจหาญ. (2562). การเงินธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.

ปณรัตน์ ผาดี. (2555).การวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงปลานิลอินทรีย์ในบ่อระบบปิดในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, 5(2), 33-45.

รัชประภา พลรักษา และพิษณุวัฒน์ ทวีวัฒน์. (2559). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงงานผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(1), 66-78.

วสวัตต์ วานิชวิริยกิจ. (2562). การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของการเลี้ยงกุ้งขาวระบบไบโอซีเคียวในจังหวัดจันทบุรี. Journal of Social Science Panyapat, 1(2), 1-8.

วุฒิชัย อ่อนเอี่ยม วาสนา อากรรัตน์ และประภาพร ดีมาก. (2561). การวิเคราะห์ทางการเงินของการเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ในบ่อดิน: กรณีศึกษาคลองวาฬโมเดล. วารสารเกษตร, 34(3), 501-511.

แววดาว พรมเสน วรีวรรณ เจริญรูป และพิทธินันท์ สมไชยวงค์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนจากการเลี้ยงปลานิล ในเขตอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 7(2), 203–214.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดปลานิลในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่. สืบค้นจาก

http://www.oae.go.th//assets/portals/1/fileups/baerdata/files.pdf

สุขใจ ดอนปัญหา. (2554). ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนปลูกข้าวของเกษตรกร หมู่ 5 ตำบลหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุพะยอม นาจันทร์ ปทุมพร หิรัญสาลี,จุไรรัตน์ ทองบุญชู วรกร ภูมิวิเศษ และลักขณา ดำชู. (2562). ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนของกลุ่มหัตถกรรมบ้านชุมพอ ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมืองจังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

สรณัฏฐ์ ศิริสวย อิสริยา วุฒิสินธุ์ จุฑา มุกดาสนิท วรัณทัต ดุลยพฤกษ์ ไพลิน จิตรชุ่ม และอริณทิพย์ ธรรมชัย พิเนต. (2562). การประเมินต้นทุน ผลตอบแทน คุณภาพผลผลิต และสุขภาพของปลานิลที่เลี้ยงโดยใช้ระบบการเลี้ยงแบบพัฒนาและกึ่งพัฒนา : กรณีศึกษาชมรมผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบางหัก อ.พานทอง จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2564).การพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มการจัดการโซ่อุปทานของสินค้าเกษตรใบเตยหอมในบริบทพื้นที่จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(2).277-290.

Ananthapavan, J., Sacks, G., Orellana, L., Marshall, J., Robinson, E., Moodie, M., & Cameron, A. J. (2022). Cost–benefit and cost–utility analyses to demonstrate the potential value-for-money of supermarket shelf tags promoting healthier packaged products in Australia. Nutrients, 14(9), 1919.

Basskin, L. (1998). Using cost-minimization analysis to select from equally effective alternatives. Formulary, 33(12), 1209.

Belton, B., Turongruang, D., Bhujel, R., & Little, D. C. (2009). The history, status, and future prospects of monosex tilapia culture in Thailand. Aquaculture Asia, 14(2), 16-19.

Diatin, I., Shafruddin, D., Hude, N., Sholihah, M. A., & Mutsmir, I. (2021). Production performance and financial feasibility analysis of farming catfish (Clarias gariepinus) utilizing water exchange system, aquaponic, and biofloc technology. Journal of the Saudi Society of Agricultural Sciences, 20(5), 344-351.

Hettiarachchi, R. M., Kularatna, S., Downes, M. J., Byrnes, J., Kroon, J., Lalloo, R., & Scuffham, P. A. (2018). The costeffectiveness of oral health interventions: A systematic review of costutility analyses. Community dentistry and oral epidemiology, 46(2), 118-124.

Mishan, E. J., & Quah, E. (2020). Cost-benefit analysis. NJ: Routledge. Neumann, P. J., Kim, D. D., Trikalinos, T. A., Sculpher, M. J., Salomon, J. A., Prosser, L. A., & Sanders, G. D. (2018). Future directions for cost-effectiveness analyses in health and medicine. Medical Decision Making, 38(7), 767-777.

N'Souvi, K., Sun, C., Egbendewe-Mondzozo, A., Tchakah, K. K., & Alabi-Doku, B. N. (2021). Analysis of the impacts of socioeconomic factors on hiring an external labor force in tilapia farming in Southern Togo. Aquaculture and Fisheries, 6(2), 216-222.

Pearce, D. (1998). Cost benefit analysis and environmental policy. Oxford review of economic policy, 14(4), 84-100.

Sorina & Alina. (2014). Cost Benefit Analysis and its Role in investment Projects in Agriculture. Hyperion Economic Journal, 4(2).

Tsevat, J., & Moriates, C. (2018). Value-based health care meets cost-effectiveness analysis. Annals of internal medicine, 169(5), 329-332.

Zilberberg, M. D., & Shorr, A. F. (2010). Understanding cost-effectiveness. Clinical microbiology and infection, 16(12), 1707-1712.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

How to Cite

พัวพรพงษ์ ธ. .; คัมภิรานนท์ ป. .; ชัยชนะ ร. . การศึกษาความคุ้มค่าทางการเงินในการเลี้ยงปลานิลของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม. RMUTT Global Business and Economics Review, Pathum Thani, Thailand, v. 18, n. 1, p. 139–155, 2023. Disponível em: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/264529. Acesso em: 1 พ.ค. 2025.