ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการโลจิสติกส์และการบูรณาการโซ่อุปทานทุเรียนของสหกรณ์การเกษตรภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • พัฒน์ พิสิษฐเกษม ภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

โลจิสติกส์ โซ่อุปทาน สหกรณ์การเกษตร ทุเรียน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการโลจิสติกส์และการบูรณาการโซ่อุปทานทุเรียนของสหกรณ์การเกษตรภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากิจกรรมสำคัญด้านการจัดการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเกษตรกรที่ประกอบธุรกิจทุเรียนในสหกรณ์การเกษตรภาคตะวันออก และเพื่อศึกษารูปแบบการประสานงานของโซ่อุปทานที่ประกอบกันเพื่อส่งเสริมเกษตรกรที่ประกอบธุรกิจทุเรียนในสหกรณ์การเกษตรภาคตะวันออก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นเกษตรกรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกและจัดจำหน่ายทุเรียนของสหกรณ์การเกษตรภาคตะวันออก ที่ประกอบด้วยจังหวัด จันทบุรี ตราด ระยอง จำนวน 10 คน สุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสัมภาษณ์เป็นแบบมีโครงสร้าง ข้อมูลที่เก็บรวบรวมนำมาทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วยประสบการณ์ในการทำงาน 7-20 ปี สายพันธุ์ทุเรียนส่วนใหญ่ที่ดำเนินการจะเป็นพันธุ์หมอนทอง รองลงมาจะเป็น ชะนี ก้านยาว พ่วงมณี กระดุม ปริมาณพื้นที่ปลูกทุเรียนหากเป็นเกษตรกรผู้ปลูกจะมีพื้นที่ 40-200 ไร่ แต่หากเป็นพื้นที่ปลูกรวมของเกษตรกรที่ส่งทุเรียนให้กับสหกรณ์รวบรวมผลผลิตแต่ละแห่งจะมีพื้นที่ 2,000-66,000 ไร่ ผลผลิตทุเรียนภาคตะวันออกจะออกปีละ 1 รอบในฤดูกาลช่วงเดือน เมษายน ถึงมิถุนายน แต่ก็จะมีนอกฤดูกาลบ้างทั้งต้นและปลายฤดู กิจกรรมโลจิสติกส์ที่นำไปสู่ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่ต้องดำเนินการ มีอยู่ 10 ด้าน ได้แก่ การบริการลูกค้า การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า การจัดการความต้องการและการพยากรณ์ การจัดการสินค้าคงคลัง การขนส่ง การจัดการคลังสินค้าและการจัดเก็บ โลจิสติกส์ย้อนกลับ การจัดซื้อจัดจ้างภายนอก การจัดการอุปกรณ์ยกขนเคลื่อนย้ายสินค้า บรรจุภัณฑ์ การติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์ โซ่อุปทานของธุรกิจทุเรียนของสหกรณ์การเกษตรภาคตะวันออก ประกอบด้วยธุรกิจต้นน้ำ ภาครัฐ ได้แก่ กรมวิชาการโรคพืช เกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัด สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้ว่าราชการจังหวัด ภาคเอกชน ได้แก่ เกษตรกร บริษัทขายสารเคมีเกษตร แรงงานทำสวนทุเรียน ธุรกิจกลางน้ำ ได้แก่ ล้ง พ่อค้าคนกลาง บริษัทส่งออกขายในต่างประเทศ โรงงานแปรรูปทุเรียนแกะแช่แข็ง ผู้ให้บริการจัดส่งสินค้าและพัสดุ ธุรกิจปลายน้ำ ได้แก่ ตลาดลูกค้าทุเรียนชาวจีนเป็นหลัก ตลาดลูกค้าทุเรียนญี่ปุ่น และลาว ในส่วนของภายในประเทศ ได้แก่ โมเดิร์นเทรด แม่ค้าทางภาคต่าง ๆ ในประเทศ ลูกค้าที่ซื้อทุเรียนผ่านออนไลน์

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). สหกรณ์ปล่อยกู้122 ล้านหนุนส่งออกผลไม้ชี้ตลาดแย่งซื้อทำราคาพุ่งไม่หยุด. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/business/940618

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2565). ประวัติสหกรณ์ในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.cpd.go.th/knowledge/general-coop/item/38-historycoop-inthai.html

ชนะเกียรติ สมานบุตร. (2557). การจัดการโซ่อุปทาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

วราภรณ์ จันทร์เวียง, กฤษณะ จันทสิทธิ์ และ คมสัน มุ่ยสี. (2557). การบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานทุเรียนหลายวัตถุประสงค์: กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรี. สืบค้นจาก https://eresearch.rbru.ac.th/showthesis.php?theid=1525&depid=7

สืบศักดิ์ นวจินดา. (2510). ข้อคิดบางประการจากการสำรวจการปลูกทุเรียน. วารสารพืชสวน, 4(1), 67-81.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). เปิดข้อมูลไม้ผลภาคใต้ ผลผลิตรวม 5.7 แสนตัน ‘ทุเรียน – มังคุด’ ทยอยออกตลาดแล้ว. สืบค้นจาก www.oae.go.th

Council of Supply Chain Management Professionals. (2022). Retrieved from http://cscmp.org/

Glaser B. G., & Strauss A. L. (1967). The discovery of grounded theory: strategies for Qualitative research. Chicago: Aldine.

Nastasi, B. K., & Schensul, S. L. (2005). Contributions of qualitative research to the validity of intervention research. Journal of School Psychology, 43(3), 177-195.

Stock, J. R., & Lambert, D. M. (2001). Strategic Logistics Management (4th ed.). New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28

How to Cite

พิสิษฐเกษม พ. . ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการโลจิสติกส์และการบูรณาการโซ่อุปทานทุเรียนของสหกรณ์การเกษตรภาคตะวันออก. RMUTT Global Business and Economics Review, Pathum Thani, Thailand, v. 18, n. 1, p. 26–38, 2023. Disponível em: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/262707. Acesso em: 19 พ.ค. 2025.