การวิเคราะห์จัดกลุ่มเพื่อการรณรงค์ทางการตลาดด้วยการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์จัดกลุ่ม, สื่อสังคมออนไลน์, การรณรงค์ทางการตลาดบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าหรือการบริการที่โฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อระบุกลุ่ม และลักษณะประจำกลุ่มของลูกค้าที่ซื้อสินค้าหรือการบริการเมื่อเห็นโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคคลทั่วไปผู้ที่เคยซื้อสินค้าหรือการบริการ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภท Facebook, Line และ Instagram โดยทำการเก็บตัวอย่างทั้งหมด 400 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าความถี่ Correlation และ Cross Industry Standard Process for Data Mining หรือ CRISP – DM โดย ใช้ Operator K-Mean เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และ Rapid miner Studio 6 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าหรือการบริการที่โฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ คือ การเก็บข้อมูลไว้เพื่อการพิจารณาซื้อ การโฆษณาที่มีข้อความ ภาพ และคลิปโฆษณา สินค้า ความพึงพอใจเกี่ยวกับสินค้าและการบริการ และราคาน่าสนใจ ผลการวิเคราะห์กลุ่มข้อมูลสามารถจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ตระหนักถึงสินค้าและการบริการ (Product conscious) และกลุ่มที่ตระหนักถึง ราคา (Price conscious) ถึงแม้ว่าทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะประจ ากลุ่มที่ทั้งแตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ก็มีส่วนที่คล้ายคลึงกัน คือ อิทธิพลของการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์เกี่ยวกับการเก็บข้อมูลไว้เพื่อการพิจารณาซื้อ และมีความสนใจการโฆษณาเมื่อเห็นข้อความ ภาพ และคลิปโฆษณาสินค้า นอกจากนั้นยังนำเสนอวิธีการและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ควรพิจารณานำมาใช้เพื่อการรณรงค์ทางการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยการผลิตสื่อโฆษณาที่ดึงดูดความสนใจ และสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ชมซึ่งจะนำไปสู่การซื้อที่เพิ่มขึ้น
References
ดนัย ปัตตพงษ.์ (2559). Statistics talk: cluster analysis, knowledge management. Retrieved from http://it.nation.ac.th/faculty/danai/showinfo_st.php
Balan, S., & Rege, J. (2017). Mining for social media: usage patterns of small business. Business Systems Research, 8(1), 43 -50.
Boonjing, V., & Pimchangthong, D. (2017). Data mining for customers’ positive reaction to advertising in social media. Proceedings of the Federated Conference on Computer Science and Information Systems, 945-948.
Bradlow, E. T., Gangwar, M., Kopalle, P., & Voleti, S. (2017). The role of big data and predictive analytics in retailing. Journal of Retailing, 93(1), 79-85.
Everitt, B., Landau S., Morven Leese M., & Stahl, D. (2011). Cluster analysis (5th ed.). UK.: John Wiley and Sons.
Han, J. & Kamber, M. (2006). Data mining concepts and techniques (2nd ed.). United States of America: Morgan Kaufmann Publishers.
Jara, A. J., Parra, M. C., & Skarmeta, A. F. (2013). Participative marketing: extending social media marketing through the identification and interaction capabilities from the Internet of things. Personal and Ubiquitous Computing, 1-15, doi: 10.1007/s00779-013-0714-7.
Rajeev, V. & Jyoti, V. (2012). The role of motivation as a moderator of the job demandburnout-performance relationship among service employees in a social marketing campaign, Decision, 39(3), 68-85.
Rouse, M. (2009). Microblogging. Retrieved from https://searchmobilecomputing.techtarget.com /definition /microblogging
Statista. (2018). Brands on social media - statistics & facts, the statistics portal. Retrieved from https://www.statista.com/topics/2057/brands-on-social-media/
Tuten, T. L., & Solomon, M. R. (2013). Social media marketing. New Jersey: Prentice Hall.
Whiting, A., & Deshpande, A. (2016). Toward greater understanding of social media marketing: a review, Journal of Applied Business and Economics, 18(4), 82-91.
Yazdanparast, A., Joseph, M., & Qureshi, A. (2015). An Investigation of facebook boredom phenomenon among college students. Young Consumers, 16(4), 468-480.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว