อิทธิพลของความสามารถเชิงพลวัตและนวัตกรรมต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
DOI:
https://doi.org/10.60101/rmuttgber.2023.269079คำสำคัญ:
ความสามารถเชิงพลวัต, นวัตกรรม, ผลการดำเนินงานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถเชิงพลวัต และนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ที่มีสถานประกอบการที่แน่นอนสามารถติดต่อได้และจดทะเบียนนิติบุคคลกับกระทรวงพาณิชย์ ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามคือ ผู้บริหาร พนักงานหรือผู้แทนองค์การที่มีความเข้าใจภาพรวมการบริหารจัดการในองค์การจำนวน 336 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ และสถิติการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า โมเดลที่ผู้วิจัยได้ปรับปรุงและพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนี ตรวจสอบความกลมกลืน ได้แก่ Chi-square = 62.492, df = 51, p-value = 0.130, Chi-square/df = 1.225, GFI = 0.975, AGFI = 0.948, NFI = 0.975, CFI = 0.995, RMSEA = 0.026 ประกอบด้วยความสามารถเชิงพลวัต และนวัตกรรม มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กรธวัฒน์ สกลคฤหเดช, สุกิจ ขอเชื้อกลาง และลภัสรดา จ่างแก้ว. (2560). โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของความสามารถเชิงพลวัต ความได้เปรียบทางการแข่งขันและความสำเร็จของธุรกิจ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 12(1), 32-44.
ชลธิศ ดาราวงษ์, (2560). การเพิ่มขีดความสามารถเชิงพลวัตให้กับทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อตอบรับสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 12(1), 22-31.
บุญฑริกา วงษ์วานิช และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2564). ผลกระทบเชิงสาเหตุของความสามารถเชิงพลวัตและคุณภาพของระบบสารสนเทศต่อผลการดำเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล: การศึกษาตัวแปรคั่นกลางด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาด. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University, 8(2), 422-445.
ภัทริกา ชิณช่าง. (2563). ความสามารถทางด้านนวัตกรรมบริการและผลการดำเนินงานขององค์การอย่างยั่งยืน: งานวิจัยเชิงประจักษ์ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(1), 15-29
มยุรี บุญโต. (2561). การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิทยาการจัดการปริทศน์, 9(1), 53-64.
รดามณี พัลลภชนกนาถ. (2560). อิทธิพลของการจัดการโครงการและการจัดการความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อการจัดการคุณภาพ และผลการดำเนินงานด้านนวัตกรรม. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
วรเทพ ตรีวิจิตร และชลกนก โฆษิตคณิน. (2562). อิทธิพลของกลยุทธ์ทางการตลาดและการจัดการนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(4), 831-845.
ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกสำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. (2566). ข้อมูลสถิติ. สืบค้นจาก https://eiu.thaieei.com/
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2553). รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการจัดการความรู้ของผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://doi.nrct.go.th/ListDoi/ listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CU.the.2010.478
สุพัตรา ปราณี, ธนพล ก่อฐานะ, กุญชรี ค้าขาย และบัณฑิต ผังนิรันดร. (2563). นวัตกรรมการจัดการและศักยภาพเชิงพลวัตที่ส่งผลต่อผลประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ธุรกิจก่อสร้าง. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 11(3),123-133.
สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2560). รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ. สถาบัน.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). นวัตกรรมเพื่ออนาคต. สำนักงานวัตกรรมแห่งชาติ.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้ากองวิจัยเศรษฐกิจการค้ามหาภาค. (2565). รายงานการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำปี 2565. สืบค้นจาก http://www.tpso.moc.go.th/
อนุวัต สงสม. (2560). ความสามารถทางนวัตกรรม: การทบทวนวรรณกรรมและแบบจำลองเชิงแนวคิด เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุและผลลัพธ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 37(4), 182-194
อติชาติ โรจนกร. (2564). การพัฒนาขีดความสามารถเชิงพลวัตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เพื่อผลการดำเนินการภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อรุโณทัย จันทวงษ์ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2562). การบริหารคุณภาพขององค์การส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของตราสินค้าผ่านนวัตกรรมบริการและผลิตภัณฑ์: ในบทบาทเชิงปฏิสัมพันธ์การมุ่งเน้นการเรียนรู้. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(3), 998-1014.
อารีรัตน์ แต่งเที่ยง และภัครดา ฉายอรุณ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการพนักงานราชการและลูกจ้างประจำของสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(2), 203-214.
Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์. (2566). Electronics and Electrical Appliances. สืบค้นจาก https://www.scbeic.com/th/
Aaker, D. A., Kumar, V. & Day, G. S. (2001). Marketing Research. John Wiley and Sons.
Aminu, M. I., & Mahmood, R. (2015). Mediating role of dynamic capabilities on the relationship between intellectual capital and performance: A hierarchical component model perspective in PLS-SEM path modeling. Research Journal of Business Management, 9(3): 443-456.
Brynjolfsson, E., & McAfee, A. (2014). The Second Machine Age: Work, Progress, and Prosperity in a Time of Brilliant Technologies. W. W. Norton & Company.
Chaudhuri, A., Subramanian, N., & Dora, M. (2022). Circular economy and digital capabilities of SMEs for providing value to customers: Combined resource-based view and ambidexterity perspective. Journal of Business Research, 142, 32-44.
Che Rosmawati Binti Che Mat. (2007). The Effect of Innovation and Dynamics Capabilities on the Relationship between Malaysian SMEs' Business Network and Firm Performance. [Doctor dissertation, Brunel Business School, Brunel University].
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). Harper Collins. Publishers.
Fatoki, O. (2021). Dynamic capabilities and performance of hospitality firms in south Africa: The mediator effect of innovation.
GeoJournal of Tourism and Geosites, 36(2spl), 616 -623. https://doi.org/10.30892/gtg.362spl08-690.
Giniuniene, J., & Jurksiene, L. (2015). Dynamic capabilities, innovation and organizational learning: Interrelations and impact on firm performance. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 213, 985-991.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Prentice Hall.
Henseler, J., Hubona, G., & Ray, P. A. (2016). Using PLS path modeling in new technology research: updated guidelines. Industrial management & data systems, 116(1), 2-20.
Johnson, M., & Wilson, D. (2018). The Relationship between Organizational Adaptability and Performance. Journal of Business Management, 42(3), 456-469.
Leavengood,S. A. (2011). Identifying Best Quality Management Practices for Achieving Quality and Innovation Performance in the Forest Products Industry. [Doctor dissertation, Portland State University].
Likert, R. (1961). New Pattern of Management. McGraw – Hill.
Mukaka, M. (2012). A Guide to appropriate use of correlation coefficient in medical research. Malawi Medical Journal, 24, 69-71.
Nieves, J., Quintana, A., & Osorio, J. (2016). Organizational knowledge, dynamic capabilities and innovation in the hotel industry. Tourism and Hospitality Research, 16(2), 158-171.
Nor, N. G. M., Bhuiyan, A. B., & Said, J. (2016). Innovation barriers and risks for food processing SMEs in Malaysia: A logistic regression analysis. Malaysian Journal of Society and Space, 12(2), 167–178.
Pavlou, P. A., & El Sawy, O. A. (2011). Understanding the elusive black box of dynamic capabilities. Decision sciences, 42(1), 239-273.
Rashidirad, M., & Salimian, H. (2020). SMEs’ dynamic capabilities and value creation: the mediating role of competitive strategy. European Business Review, 32(4), 591-613.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor onderwijsresearch, 2(2), 49–60.
Sahoo, S., & Yadav, S. (2017). Entrepreneurial orientation of SMEs, total quality management and firm performance. Journal of Manufacturing Technology Management, 28(7), 892-912.
Teece, D. J. (2014). A dynamic capabilities-based entrepreneurial theory of the multinational enterprise. Journal of International Business Studies, 45(1), 8-37.
Wang, C. L., & Ahmed, P. K. (2007). Dynamic capabilities: A review and research agenda. International Journal of Management Reviews, 9(1), 31-51.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 บุญฑริกา วงษ์วานิช, ทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว